คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว หากมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้กระทำการชำระหนี้ และลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มาศาลในวันที่ศาลอ่านคำพิพากษา ศาลจะออกคำบังคับให้แก่ลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ โดยจะระบุรายละเอียดคือ เงินต้นดอกเบี้ย และรายละเอียดต่างๆ หลังจากที่ออกคำบังคับ แล้ว เป็นระยะเวลา ๓๐วันแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และบังคับคดีเอากับลูกหนี้ต่อไปภายในช่วงระยะเวลาในอายุความ คำบังคับสำหรับลูกหนี้ที่ไม่ได้ไปศาลในวันนัด บางคนบอกว่าลืมนัด หรืออะไรก็แล้วแต่ ศาลจะพิจารณาคดีโดยขาดนัด คือพิจารณาคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์อย่างเดียว ซึ่งก็มิได้ยุ่งยากอะไร เพราะสัญญากู้ยืมก็มีแล้ว หลักฐานการชำระ หนังสือบอกกล่าวทวงถามก็มีแล้ว ศาลท่านจะพิพากษาตาม พยานหลักฐานที่มี และอ่านคำพิพากษา ในเมื่อจำเลย หรือลูกหนี้ไม่มา ศาลท่านก็จำเป็นต้องออกคำบังคับ เพื่อแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่า ศาลพิพากษาว่าอย่างไรสำหรับเจ้าหนี้ ก็ต้องคอยนับเวลาว่า หากล่วงเลยเวลาไปแล้วนับตั้งแต่ออกคำบังคับ ๓๐ วันก็สามารถตั้งเรื่อง บังคับคดีได้เลยคับ ตัวอย่างคำบังคับ การตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หากท่านเจ้าหนี้ได้ว่าจ้างทนายความให้ดำเนินการในส่วนนี้ ก็ไม่ยากคับ ทนายความจะร่างคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี จากนั้นก็ไปยื่นคำร้องที่ศาล ศาลท่านก็จะมีคำสั่ง และ ส่งหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปให้ที่ สำนักงานบังคับคดีการสืบทรัพย์หลังจากที่ได้คำพิพากษามาแล้ว ลูกหนี้เพิกเฉย ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องไปสืบทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ออกไปแสวงหาทรัพย์จองลูกหนี้มาให้เรานะครับ เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่จะออกไป… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล เมื่อไม่สามารถทวงถามกันได้ ก็จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล บทนี้ผมจะมาเรียบเรียงให้เจ้าหนี้ทราบว่าจะต้องจัดการอย่างไร มีกระบวนการทางศาลอย่างไรแน่นอนว่าจะต้องติดต่อทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีครับ หลายท่านอาจจะทราบว่ากู้ยืมเงินเป็นคดีแพ่ง แต่บางกรณีก็สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาได้ ค่าทนายความส่วนใหญ่ทนายจะคิดค่าทนายจาก ทุนทรัพย์ที่จะฟ้องร้องค่าทนายนี่แล้วแต่ทนายแต่ละคนจะคิดค่าวิชาชีพกันเลยครับ แต่บางสำนักงานจะคิดค่าทนายคดีแพ่งที่ ร้อยละห้า ถึงร้อยละสิบของทุนทรัพย์ ส่วนคดีอาญานี่จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละคดีผมมานั่งคิดว่า การที่เจ้าหนี้จะดำเนินคดีเอง โดยไม่ต้องจ้างทนายนั้น ที่จริงค่อนข้างลำบาก เพราะการร่างคำฟ้องอย่างไรให้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือ การถามพยาน การถามค้านในกระบวนการพิจารณาคดี ไหนจะกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน แม้แต่นักศึกษานิติศาลตร์ ที่ยังไม่ได้ใบอนุญาตทนายความยัง หนักใจเวลาจะร่างคำฟ้อง หรือขึ้นศาล คิดดูนะครับปีหนึ่งมีคนสอบใบอนุญาตทนายความ เป็นหมื่นยังผ่านไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นท่านเจ้าหนี้ควรจะมีทนายความ ที่ท่านไว้ใจได้ และราคาอยู่ในงบประมาณของท่าน ก่อนที่จะฟ้องคดีแพ่งหรืออาญานั้น ผมมีหลักสังเกตง่ายๆ แบบนี้ครับ o ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจะไม่จ่ายตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงo ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจ่ายจริง ไม่ได้บอกกล่าวความเท็จตั้งแต่ต้น แต่เพียงว่าภายหลังไม่สามารถชำระได้ เป็นเพียงผิดสัยาทางแพ่งo ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งความผิดอันยอมความได้นั้น ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์หรือฟ้องร้องเสียภายใน สามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งวันที่รู้เรื่องความผิดนั้นก็คือ วันที่ท่านทราบว่าลูกหนี้ของท่านมีเจตนาที่จะไม่คืนเงินให้แก่ท่านตั้งแต่แรกแล้วนั่นเองo ดังนั้นหากท่านมิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องคดีดังกล่าวเสียภายในสามเดือน คดีก็เป็นอันขาดอายุความ หาอาจจะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาได้ไม่ คดีแพ่งก่อนพบทนายให้เตรียมเอกสารไปให้พร้อม… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 3 การทวงหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 3 การทวงหนี้ เป็นเจ้าหนี้ก็ลำบากแล้วยังมีกฎหมายการทวงหนี้ที่เจ้าหนี้พึงรู้นั่นคือพรบ.ทวงถามหนี้พ.ศ.​๒๕๕๘อันที่จริงเจ้าหนี้ที่ทำถูกกฎหมายก็พลอยลำบากไปด้วยเพราะเจ้าหนี้บางคนหรือ​สถาบันการเงินได้จ้างสำนักงานทนายความหรือ​บริษัทกฎหมายทวงหนี้ให้หรือบางที่ขายหนี้ให้สำนักงานทนายความในราคาที่ต่ำกว่าหนี้ เช่น ​หนี้ ​๑๐๐,๐๐๐ ​บาท​ขายให้ในราคาไม่ถึงหมื่นแล้วบริษัทที่ซื้อหนี้มาก็ไปทวงหนี้เต็มจำนวน เราเลยเห็นภาพการโทรมาทวงหนี้บางทีอาจจะใช้คำพูดที่ให้ลูกหนี้กลัวเช่นจะโดนฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาหรือ​โดนบังคับคดียึดทรัพย์และ​บัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่ก็ส่งจดหมายมาทวงหนี้ที่ทำงานของลูกหนี้เลยจดหมายก็มีตราประทับสำนักงานทนายความหรือ​บริษัททวงหนี้แถมประทับตรายางด้านหน้าซองว่า “อนุมัติฟ้อง” ให้อับอายต่อธารกำนัล ก็เลยมีกฎหมายมาปรามๆกันบ้างแต่เจ้าหนี้ควรทราบก็มีคร่าวๆดังนี้ครับ ข้อห้ามก่อนการทวงหนี้ ซึ่งหากเจ้าหนี้มีพฤติกรรมเหล่านี้จะได้รับโทษ ห้ามทางหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ห้ามเปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้ ห้ามใช้ข้อความในการติดต่อ ที่บ่งบอกว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงหนี้ ห้ามใช้ความรุนแรง ห้ามพูดจาดูหมิ่น เราเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิทวงถามก็จริงแต่เราต้องใช้สิทธิให้ถูกต้องด้วยเช่น​ติดตามทวงถามด้วยวาจาด้วยโทรศัพท์ด้วยหนังสือและการฟ้องร้องต่อศาล ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด คู่มือเจ้าหนี้ ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/12/creditor-handbook/

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้ ตามที่ผมได้บอกในบทที่แล้วว่า หนี้กว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมืชื่อผู้กู้เป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้หมายความว่า ข้อความง่ายๆที่บอกว่า ใครยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะใช้คืนเมื่อไหร่ แล้วลงลายมือชื่อผู้รับผิดก็ลายมือชื่อผู้ยืมนั่นแหละ เป็นอันใช้ได้แต่อย่าลืมนะครับว่า กฎหมายบอกว่า หากไม่มีเป็นเพียงการไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่เจ้าหนี้จะทวงกันคืนได้ตามธรรมดา สามัญของการทวงหนี้นะครับ สัญญาจำนำผมแนะนำไว้ในบทที่แล้วว่า ต้องมีหลักประกันการชำระหนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากเป็นไปได้ให้เรียกเอาทรัพย์ของผู้จะยืมเงินที่มูลค่ามากกว่าหนี้มาใว้กับตัวเจ้าหนี้ครับสัญญาจำนำ ภาษากฎหมายเรียกว่าสัญญาอุปกรณ์ กล่าวคือมันจะอยู่ของมันหลักๆ เดี่ยวไม่ได้มันต้องมีสัญญาเงินกู้เป็นหลัก และใช้ทรัพย์สินค้ำประกันเงินกู้ไว้ผมได้เติมข้อความลงไปในสัญญาเงินกู้แล้ว หากจกลงกันว่าจะมีหลักทรัพย์เป็นประกันก็สามารถ เติมรายละเอียดลงไปได้ครับผมได้เอาตัวอย่างของสัญญากู้ยืมมาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว แต่ถ้าหากต้องการดาวน์โหลด เป็นไฟล์ Microsoft Word ก็สามารถดาวน์โหลด ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/03/money-loan-contract/ ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงิน หนังสือรับสภาพหนี้การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกันก็ย่อมได้ บางครั้งตอนก่อนจะยืมก็พูดง่าย ติดต่อง่ายไปมาสดวก แต่พอกู้ไปแล้วติดต่อยาก หรือไม่ได้ทำสัญญากันให้เงินกันไปเฉยๆ ก็มีถ้ายังพอติดต่อกันได้ให้เรียกลูกหนี้มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ครับ ก็จะมีผลทางกฏหมาย สามารถใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมายรูปแบบก็ไม่ตายตัวครับ ใช้กระดาษ เขียนว่าใคร กู้ยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะจ่ายกันเมื่อไหร่อย่างไร ผมเอาตัวอย่างของหนังสือรับสภาพหนี้มาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

คำขิ่น พี่อร่ามสวัสดีค่ะอร่าม สวัสดีจ้าน้องคำขิ่น เป็นไรร้อยวันพันปีทักมา พี่ทำประกันแล้วนะคำขิ่น ว้ายยยย ไม่ใช่พอดีลูกจะเปิดเทอม ขาดค่าเทอมไป หมื่นหนึ่งอยากจะยืมพี่หน่อยจ้าอร่าม อืม ก่อนที่จะให้ยืมเงิน คงมีน้อยคนที่บอกว่าอยากจะให้คนมายืมเงินเยอะๆ ที่ผมพบเจอในการทำงานทนายความ ก็มีในรูปแบบของการโทรมาขอยืมเงิน หรือแชต มาในไลน์ หรือ​ทาง​เฟสบุ๊ค​ ก็น่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของ อร่าม​ ตัวละครสมมติของผม หลายๆคนคงคุ้นเคยกับบทสนทนานี้กันใช่ไหมครับ ว่า​มีคนสนิท หรือ​บางทีไม่สนิททักมาขอยืมเงิน เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าก่อนยืมเงินยืมทองกัน มีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง หนี้เงินนี้หากมิได้ตกลงกันก่อนว่าจะครบกำหนดเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดนัดเมื่อเขาเตือน กล่าวคือเจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ แต่ถ้าหากมีกำหนดระยะเวลากันแล้ว เมื่อครบกำหนดแล้วไม่ชำระจะถือว่าผิดนัด โดยมิพักต้องเตือน การยืมเงินนี้ ภาษากฎหมายเค้าเรียกว่า การยืมใช้สิ้นเปลือง จะตรงกันข้ามกับการยืมใช้คงรูป กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหอนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว และการเก็บดอกเบี้ยนั้น หากตกลงกันจะเรียกได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี แต่ถ้าหาก ยังมิได้ตกลงกัน ให้คิดได้ร้อยละ ๗.๕​ต่อปี​ ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือว่า การยืมเงินกันนั้น… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

ขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี

ขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี เมื่อศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย โดยเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีแบ่งเป็น การยึดและการอายัด การยึด ได้แก่ ยึดที่ดิน, บ้าน, อาคาร, รถยนต์, หุ้น, สังหาริมทรัพย์ เป็นต้น – การอายัด ได้แก่ อายัดเงินฝากธนาคาร, เงินเดือน (กรณีเอกชน, รัฐวิสาหกิจ) สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก หลักฐานที่ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตั้งเรื่อง 1. หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ (ใช้แบบฟอร์มของกรมบังคับคดี) 2. บัตรประชาชน, หนังสือรับรองบริษัทของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณี โจทก์เป็นบริษัท) 3. หลักฐานแสดงสถานะของจำเลย, หนังสือรับรองบริษัท, หนังสือทะเบียนราษฎร 4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลย เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนอง, หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด, ทะเบียนบ้าน, คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์, ใบหุ้น และอื่น ๆ 5. กรณีอายัดเงินฝากธนาคาร เช่น เลขบัญชีธนาคาร, ประเภทบัญชี,… Read More ขั้นตอนการยึดทรัพย์บังคับคดี

การบังคับคดีแพ่งของไทยและแนวโน้มในประชาคมอาเซียน

การบังคับคดีแพ่งของไทยและแนวโน้มในประชาคมอาเซียนโดย นางสาวปฐมน แป้นเหลือ ทราบหรือไม่? ปัจจุบันกรมบังคับคดีมีทรัพย์สินที่อยู่ในกระบวนการขายทอดตลาดเฉพาะคดีแพ่ง มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท และทรัพย์สินบางอย่างอยู่ในกระบวนการนี้มานานกว่า 10 ปีโดยสาเหตุที่ทรัพย์สินเหล่านี้ยังคงค้างอยู่ในระบบอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาดำเนินการขายทอดตลาด ความน่าสนใจของทรัพย์สินที่ขาย ค่าใช้จ่ายและความเหมาะสมของราคาประเมิน และการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ปัญหานี้ส่งผลกระทบทั้งต่อเจ้าหนี้ที่รอรับการช าระหนี้เป็นเวลานาน ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ทั้งยังได้พัฒนากระบวนการบังคับคดีอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัดคือ การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ดังเช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ท าให้ผู้ซื้อคอนโดและบ้านจัดสรรจากการขายทอดตลาดในชั้นบังคับคดีไม่ต้องรับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของเจ้าของเดิม สร้างแรงจูงใจที่จะท าให้ทรัพย์สินประเภคอนโดและบ้านจัดสรรขายออกมากยิ่งขึ้น หากดูในบริบทของประเทศในอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางปฏิบัติและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับคดีในแต่ละประเทศ ประเด็นหลักเป็นเรื่องการน าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้และการส่งเสริมกลไกการระงับข้อพิพาททางเลือก หลายประเทศได้มีการน ามาใช้แล้วและไทยอาจน ามาเป็นต้นแบบได้ เช่น ประเทศสิงคโปร์(ได้รับการจัดอันดับความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจจากธนาคารโลกในปี 2015 อยู่ในลำดับที่ 1 ทั้งในภาพรวมและด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง) และประเทศมาเลเซีย (ลำดับที่18) ใช้ระบบ e-Filing… Read More การบังคับคดีแพ่งของไทยและแนวโน้มในประชาคมอาเซียน