คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี


หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว หากมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้กระทำการชำระหนี้ และลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มาศาลในวันที่ศาลอ่านคำพิพากษา ศาลจะออกคำบังคับให้แก่ลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ โดยจะระบุรายละเอียดคือ เงินต้นดอกเบี้ย และรายละเอียดต่างๆ หลังจากที่ออกคำบังคับ แล้ว เป็นระยะเวลา ๓๐วันแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และบังคับคดีเอากับลูกหนี้ต่อไปภายในช่วงระยะเวลาในอายุความ


คำบังคับ
สำหรับลูกหนี้ที่ไม่ได้ไปศาลในวันนัด บางคนบอกว่าลืมนัด หรืออะไรก็แล้วแต่ ศาลจะพิจารณาคดีโดยขาดนัด คือพิจารณาคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์อย่างเดียว ซึ่งก็มิได้ยุ่งยากอะไร เพราะสัญญากู้ยืมก็มีแล้ว หลักฐานการชำระ หนังสือบอกกล่าวทวงถามก็มีแล้ว ศาลท่านจะพิพากษาตาม พยานหลักฐานที่มี และอ่านคำพิพากษา ในเมื่อจำเลย หรือลูกหนี้ไม่มา ศาลท่านก็จำเป็นต้องออกคำบังคับ เพื่อแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่า ศาลพิพากษาว่าอย่างไร
สำหรับเจ้าหนี้ ก็ต้องคอยนับเวลาว่า หากล่วงเลยเวลาไปแล้วนับตั้งแต่ออกคำบังคับ ๓๐ วันก็สามารถตั้งเรื่อง บังคับคดีได้เลยคับ

ตัวอย่างคำบังคับ

การตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี


หากท่านเจ้าหนี้ได้ว่าจ้างทนายความให้ดำเนินการในส่วนนี้ ก็ไม่ยากคับ ทนายความจะร่างคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี จากนั้นก็ไปยื่นคำร้องที่ศาล ศาลท่านก็จะมีคำสั่ง และ ส่งหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปให้ที่ สำนักงานบังคับคดี
การสืบทรัพย์
หลังจากที่ได้คำพิพากษามาแล้ว ลูกหนี้เพิกเฉย ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องไปสืบทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ออกไปแสวงหาทรัพย์จองลูกหนี้มาให้เรานะครับ เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่จะออกไป สืบว่าทรัพย์จองลูกหนี้นั้น อยู่ไหน มีเท่าไหร่ อย่างไร แล้วมาตั้งเรื่องให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการยึด อายัดต่อไป

ก่อนอื่นมาทบทวนกันก่อนว่าทรัพย์อะไรที่ยึดได้ เพื่อนำมาชำระหนี้ ทรัพย์ดังนี้ครับ
• ที่ดิน หรือ อาคารชุด แม้ว่าจะติดจำนองอยู่ก็สามารถยึดได้
• รถยนต์ ต้องปลอดภาระเช่าซื้อแล้ว
• เงินฝากในบัญชีธนาคาร
• เงินเดือน (ในส่วนที่เกิน ๒๐,๐๐๐บาท)


ส่งที่เจ้าหนี้ต้องเตรียมคือ สำเนาคำพิพากษา สำเนาหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด สามารถไปขอคัดสำเนาได้ที่ศาล และ ขอให้เจ้าพนักงานรับรองด้วยครับ มีค่าธรรมเนียมฉบับละ ๕๐ บาท

กระบวนการสืบทรัพย์ สามารถมอบอำนาจให้ทนายความดำเนินการ หรือสามารถติดต่อเราเพื่อช่วยดำเนินการได้ครับ

ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด คู่มือเจ้าหนี้ ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/12/creditor-handbook/

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s