คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้
ตามที่ผมได้บอกในบทที่แล้วว่า หนี้กว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมืชื่อผู้กู้เป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้
หมายความว่า ข้อความง่ายๆที่บอกว่า ใครยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะใช้คืนเมื่อไหร่ แล้วลงลายมือชื่อผู้รับผิดก็ลายมือชื่อผู้ยืมนั่นแหละ เป็นอันใช้ได้
แต่อย่าลืมนะครับว่า กฎหมายบอกว่า หากไม่มีเป็นเพียงการไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่เจ้าหนี้จะทวงกันคืนได้ตามธรรมดา สามัญของการทวงหนี้นะครับ
สัญญาจำนำ
ผมแนะนำไว้ในบทที่แล้วว่า ต้องมีหลักประกันการชำระหนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากเป็นไปได้ให้เรียกเอาทรัพย์ของผู้จะยืมเงินที่มูลค่ามากกว่าหนี้มาใว้กับตัวเจ้าหนี้ครับ
สัญญาจำนำ ภาษากฎหมายเรียกว่าสัญญาอุปกรณ์ กล่าวคือมันจะอยู่ของมันหลักๆ เดี่ยวไม่ได้มันต้องมีสัญญาเงินกู้เป็นหลัก และใช้ทรัพย์สินค้ำประกันเงินกู้ไว้
ผมได้เติมข้อความลงไปในสัญญาเงินกู้แล้ว หากจกลงกันว่าจะมีหลักทรัพย์เป็นประกันก็สามารถ เติมรายละเอียดลงไปได้ครับ
ผมได้เอาตัวอย่างของสัญญากู้ยืมมาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว แต่ถ้าหากต้องการดาวน์โหลด เป็นไฟล์ Microsoft Word ก็สามารถดาวน์โหลด ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ
https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/03/money-loan-contract/
ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงิน


หนังสือรับสภาพหนี้
การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกันก็ย่อมได้ บางครั้งตอนก่อนจะยืมก็พูดง่าย ติดต่อง่ายไปมาสดวก แต่พอกู้ไปแล้วติดต่อยาก หรือไม่ได้ทำสัญญากันให้เงินกันไปเฉยๆ ก็มี
ถ้ายังพอติดต่อกันได้ให้เรียกลูกหนี้มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ครับ ก็จะมีผลทางกฏหมาย สามารถใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมาย
รูปแบบก็ไม่ตายตัวครับ ใช้กระดาษ เขียนว่าใคร กู้ยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะจ่ายกันเมื่อไหร่อย่างไร ผมเอาตัวอย่างของหนังสือรับสภาพหนี้มาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว แต่ถ้าหากต้องการดาวน์โหลด เป็นไฟล์ Microsoft Word ก็สามารถดวาน์โหลดได้ที่ด้านล่างนี้ครับ
https://66lawyer.wordpress.com/2021/01/20/acknowledgment-of-debt-agreement/
ตัวอย่างหนังสือรับสภาพหนี้


ข้อความสนทนาบนสื่ออนไลน์ (ข้อความ chat)
ศาลรับฟังข้อความ Chat ที่สนทนาถึงการกู้ยืมเงินกัน เป็นหลักฐานสามรถใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลได้ต้องมีหลักฐานดังนี้
- Chat – ข้อความที่สนทนากันว่าขอยืมเงินจำนวนเท่าไหร่ จะคืนให้เมื่อไหร่
- Account – หมายเลขบัญชีธนาคารของคนที่มาขอยืมเงิน
- Slip – หลักฐานว่าเราได้โอนเงินให้ผู้ยืมเงินครบถ้วนแล้ว
และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กล่าวถึง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”
เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์
ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด คู่มือเจ้าหนี้ ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/12/creditor-handbook/