การบังคับคดีแพ่งของไทยและแนวโน้มในประชาคมอาเซียน

การบังคับคดีแพ่งของไทยและแนวโน้มในประชาคมอาเซียน
โดย นางสาวปฐมน แป้นเหลือ


ทราบหรือไม่? ปัจจุบันกรมบังคับคดีมีทรัพย์สินที่อยู่ในกระบวนการขายทอดตลาดเฉพาะคดีแพ่ง มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท และทรัพย์สินบางอย่างอยู่ในกระบวนการนี้มานานกว่า 10 ปีโดยสาเหตุที่ทรัพย์สินเหล่านี้ยังคงค้างอยู่ในระบบอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาดำเนินการขายทอดตลาด ความน่าสนใจของทรัพย์สินที่ขาย ค่าใช้จ่ายและความเหมาะสมของราคาประเมิน และการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ปัญหานี้ส่งผลกระทบทั้งต่อเจ้าหนี้ที่รอรับการช าระหนี้เป็นเวลานาน ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ทั้งยังได้พัฒนากระบวนการบังคับคดีอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัดคือ การแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ดังเช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ท าให้ผู้ซื้อคอนโดและบ้านจัดสรรจากการขายทอดตลาดในชั้นบังคับคดีไม่ต้อง
รับภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของเจ้าของเดิม สร้างแรงจูงใจที่จะท าให้ทรัพย์สินประเภคอนโดและบ้านจัดสรรขายออกมากยิ่งขึ้น


หากดูในบริบทของประเทศในอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล แนวทางปฏิบัติและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับคดีในแต่ละประเทศ ประเด็นหลักเป็นเรื่องการน าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้และการส่งเสริมกลไกการระงับข้อพิพาททางเลือก หลายประเทศได้มีการน ามาใช้แล้วและไทยอาจน ามาเป็นต้นแบบได้


เช่น ประเทศสิงคโปร์(ได้รับการจัดอันดับความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจจากธนาคารโลกในปี 2015 อยู่ในลำดับที่ 1 ทั้งในภาพรวมและด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง) และประเทศมาเลเซีย (ลำดับที่18) ใช้ระบบ e-Filing ที่คู่ความสามารถฟ้องคดีทางอิเล็กทรอนิกส์และฟ้องเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องฟ้องภายในเวลาราชการ

มีบริการแจ้งนัดพิจารณาคดีทาง sms ท ำให้ประหยัดต้นทุนและพื้นที่จัดเก็บเอกสาร สามารถขจัดปัญหาข้อมูลสูญหายหรือถูกทำลาย และทำให้การพิจารณาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีใต้(ลำดับที่ 5 ในภาพรวม, ลำดับที่ 4 ในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง)

ก็มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อลดขั้นตอนการบังคับคดี การใช้ mobile application และการใช้ระบบการแก้ไขความขัดแย้งผ่าน e-Court หรือ

ประเทศจีน ซึ่งศาลสูงสุดมีบทบาทเชิงรุกในการนำ เทคโนโลยีมาสืบหาทรัพย์สิน ติดตั้งระบบเครือข่ายที่สามารถค้นหาและควบคุมทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ได้ทั่วประเทศจีน และในอนาคตประชาคมอาเซียนยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการบังคับคดีในระดับภูมิภาค การบังคับคดีข้ามพรมแดน โดยยึดแนวทางของสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) ดังเช่นสหภาพยุโรปนำมาใช้อย่างได้ผลมาแล้วด้วย

ในปี 2015 นี้ไทยได้รับการจัดอันดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ล าดับที่ 26 ในภาพรวม และอันดับที่ 25 ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง คงต้องรอติดตามกันต่อไปว่าการพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่งของไทยจะทำให้ในปีหน้าไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญ


หากทรัพย์สินกว่า 2 แสนล้านบาท สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจได้ คงจะส่งผลดีไม่น้อยต่อทั้งธุรกิจ ภายในประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศ

Photo by Pratikxox on Pexels.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s