หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน ทำอย่างใรให้ใช้บังคับได้ทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้าง

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน หนังสือสัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกสารที่ นายจ้าง กับลูกจ้างแต่ละคนได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่านายจ้างกับลูกจ้างได้ตกลงจ้างแรงงานกันอย่างไร มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาอย่างไร ในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้นายจ้างกับลูกจ้างต้องทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงานไว้ คงมีแต่บทบัญญัติของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ที่กำหนดไว้ว่า หากนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างงานตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าว และสัญญาจ้างแรงงานนั้นมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น การทำสัญญาจ้างแรงงาน ก่อนทำสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างกับลูกจ้างควรเจรจาตกลงในสาระสำคัญของการจ้างแรงาน พร้อมทั้งเงื่อนไขและเงื่อนเวลาให้ครบถ้วน ก่อนที่จะทำและลงชื่อในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานควรมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อสัญญา (ควรระบุว่าเป็น “สัญญาจ้างแรงงาน” ไม่ควรระบุถ้อยคำอื่น เช่น “สัญญาทดลองงาน” เนื่องจากการทดลองงานเป็นเพียงเงื่อนไขการจ้างเท่านั้น) (2) สถานที่ทำสัญญา (ควรระบุให้ชัดเจน ตั้งแต่เลขที่บ้าน ซอย ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงรหัสไปรษณีย์) (3) วันเดือนปีที่ทำสัญญา (ควรระบุวันเดือนปีที่ลงลายมือชื่อในสัญญา) (4) ชื่อและภูมิลำเนาของคู่สัญญา (ควรระบุถ้อยคำว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นสัญญาระหว่างผู้ใดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างกับผู้ใดซึ่งเป็นฝ่ายลูกจ้าง สำหรับชื่อของนายจ้างนั้น หากเป็นนิติบุคคลก็ต้องระบุชื่อบุคคลที่มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลนั้นไว้ด้วย หากเป็นบุคคลธรรมดาก็ระบุชื่อและชื่อสกุลให้ชัดเจน รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่ถูกต้องเพื่อแสดงเพศ และหากระบุถึงเลขหมายประจำตัวในบัตรประจำตัวประชาชนได้ด้วยก็จะยิ่งดี พร้อมทั้งระบุอายุ และภูมิลำเนาโดยละเอียดของนายจ้างตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนด้วย ส่วนลูกจ้างก็ระบุชื่อ… Read More หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน ทำอย่างใรให้ใช้บังคับได้ทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้าง

Playlist ฝึกฟังภาษาอังกฤษ จาก Ted talks

Playlist ฝึกฟังภาษาอังกฤษ จาก Ted talks การเรียนภาษาผมว่าน่าจะเริ่มจากการหัดท่องคำศัพท์ เรารู้จักคำศัพท์แล้วก็เริ่มอ่านจากประโยคง่ายๆ จากนั้นก็เริ่มฟังจากคำพูดง่ายๆไปหายาก และเริ่มพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะสื่อสาร สุดท้ายคือการเขียนซึ่งยากมากๆเราจริงๆคนที่เป็นเจ้าของภาษาเองให้เขียนประโยคอย่างเป็นทางการบางทีก็เหงื่อตก หมายความว่าเมื่อท่องได้แล้วต้องหาอะไรมาอ่านมาฟัง สมัยก่อนเทคโนโลยีไม่พัฒนาเหมือนทุกวันนี้ก็ได้แต่อ่านจากวารสาร ดูรายการโทรทัศน์ ผมยังจำได้ตอนเป็นเด็กผมอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ จะหาชาวต่างชาติสักคนมาให้คุยด้วยก็ลำบาก ตอนหัดเขียนภาษาใหม่ๆเจอชาวต่างชาติก็อยากเข้าไปพูดคุย ตอนนี้เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากไม่ลำบากเหมือนสมัยก่อนแล้วอยากจะได้ยินคำศัพท์ การอ่านบทความก็มีในอินเทอร์เน็ต ผมเลยรวบรวม 60 คลิปของ ted talk มาให้ พี่น้องนักกฎหมายทุกท่านได้มีโอกาสฟังและอ่าน คำพูดดีๆเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อจะซึมซับคำศัพท์ต่างๆ และสามารถเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญากฎหมายในประเทศอื่นด้วย บางเรื่องที่เราไม่คุ้นเคยเช่นการดำเนินคดีโดยใช้ลูกขุน จะมีการพูดถึงบ่อยครั้งซึ่งรู้ไว้ไม่เสียหาย ในการสอบสนามต่างๆคำศัพท์ภาษาอังกฤษเหล่านี้ก็จะพบเห็นอยู่บ่อยๆ อย่างที่ผมเคยแนะนำเราปรับให้คลิปเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ปรับให้ช้าลงแล้วเปิดให้มีตัว subtitle ภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่างพยายามอ่านให้ทันฟังให้ทัน ผมใช้วิธีนี้อยู่หลายเดือนจนสามารถฟังได้ในความเร็วปกติ เริ่มให้ยากขึ้นโดยฟังเร็วขึ้นเรื่อยๆ ยากขึ้นไปอีกคือการหัดฟังสำเนียงที่ไม่ใช่สำเนียงอเมริกัน หรือ สำเนียงอังกฤษเช่น สําเนียงฟิลิปปินส์ สำเนียงอินเดีย สำเนียงสิงคโปร์ สำเนียงจีน หลังจากนั้นผมเลิกคิดถึงกันฟังเพื่อเรียนภาษาไทยเลยกลายเป็นว่าฟังเพื่อที่จะเข้าใจเนื้อหามากกว่า อยากเข้าใจเนื้อหาเข้าใจวัฒนธรรมเข้าใจ concept ที่ผู้พูดจะพยายามสื่อ ผมจะพยายามเพิ่มคลิปเข้ามาเรื่อยๆใน เพลย์ลิสต์นี้ หากฟังหมดจนจบทุกคลิป ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ในการฝึกภาษาไม่มากก็น้อยPlaylist ฝึกฟังภาษาอังกฤษ จาก Ted talks

English for Lawyer: Business Law กฎหมายธุรกิจ

party/ปาร์ตี้/คู่กรณี คู่ความ คู่สัญญา ภาคี code/โค๊ด/ประมวลกฎหมาย banking law/แบงค์กิ้ง ลอ/กฎหมายการธนาคาร bankruptcy law/แบงค์รับซี่ ลอ/กฎหมายล้มละลาย tax law/แทกซ์ ลอ/กฎหมายภาษีอากร international commercial law/อินเตอร์เนชั่นแนล คอมเมอร์เชียล ลอ/กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ civil law/ซีวิล ลอ/กฎหมายแพ่ง intellectual property law/อินเทเล็กชัวล์ พรอพเปอร์ตี้ ลอ/กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา securities law/ซิเคียวริที้ ลออ/กฎหมายหลักทรัพย์ commercial law/คอมเมอร์เชียล ลอ/กฎหมายพาณิชย์ to break the law/ทู เบรก เดอะ ลอ/ฝ่าฝืนกฎหมาย to enforce the law/ทู เอ็นฟอส เดอะ ลอ/บังคับใช้กฎหมาย to become law/ทู บีคัม ลอ/กลายเป็นกฎหมาย Bachelor of Laws… Read More English for Lawyer: Business Law กฎหมายธุรกิจ

English for Lawyer: Thailand Civil and Commercial Code and Civil Procedure Code กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ และ วิธีพิจารณาความแพ่ง

substantive law/ซัพสะแตนทีฟ ลอ/กฎหมายสารบัญญัติ procedural law/โปรซีดูล ลอ/กฎหมายวิธีสบัญญัติ party/ปาร์ตี้/คู่ความ คู่สัญญา plaintiff/เพลนทีฟ/โจทก์ defendant/ดีแฟนดินท์/จำเลย plaint/ complaint/เพลนท์/ /คอมเพลนท์/คำฟ้อง nature of plaintiff’s claim/เนเจอ ออฟ เพลนทีฟส์ เคลม/สภาพแห่งข้อหา claimant/ไคลเม้นท์/บุคคลที่เรียกร้อง claim damages/เคลม ดาเมจเจส/เรียกค่าเสียหาย allegation/อะเลเกชั่น/ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา substance abuse/ซัพสเตนท์ อบิวส์/ยาเสพติด misuse/มีสยูส/การใช้ในทางที่ผิด civil procedure code/ซีวิล โปรซีดูล โค๊ท/ประมวลกฎหมายวิธีพิจจารณาความแพ่ง the code of judicial conduct/เดอะโค๊ทออฟ จูดีเชียล คอนดั๊กท์/ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ political party/โพลิติคอล ปาร์ตี้/พรรคการเมือง the guilty party/เดอะ กิลตี้ ปาร์ตี้/คู่ความฝ่ายที่ผิด the innocent party/เดอะ อินโนเซนท์ ปาร์ตี้ /คู่ความฝ่ายที่บริสุทธิ… Read More English for Lawyer: Thailand Civil and Commercial Code and Civil Procedure Code กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ และ วิธีพิจารณาความแพ่ง

ทายาทโดยธรรม ที่เป็นคู่สมรส

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ต้องมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548 ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่… Read More ทายาทโดยธรรม ที่เป็นคู่สมรส

การยืมเงินผ่าน Chat สามารถใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีได้แล้ว

การยืมเงินผ่าน Chat สามารถใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีได้แล้ว ศาลรับฟังข้อความ Chat ที่สนทนาถึงการกู้ยืมเงินกัน เป็นหลักฐานสามรถใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลได้ ต้องมีหลักฐานดังนี้ Chat – ข้อความที่สนทนากันว่าขอยืมเงินจำนวนเท่าไหร่ จะคืนให้เมื่อไหร่ Account – หมายเลขบัญชีธนาคารของคนที่มาขอยืมเงิน Slip – หลักฐานว่าเราได้โอนเงินให้ผู้ยืมเงินครบถ้วนแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการยืมเงินกันเกิน 2,000 บาท ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานและลงลายมือชื่อ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กล่าวถึง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”​ คำพิพากษาฎีกาที่ 8089/2556 เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

ร่างสัญญา

ร่างสัญญา #ทนายอภิวัฒน์ เมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายตกลง มีคำเสนอถูกต้องตรงงกันย่อมก่อให้เกิดสัญญา สัญญาคือ การตั้งข้อสมมุติว่า หากในอนาคด หากเกิดเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งขี้้นในอนาคดจะจัดการอย่างไร มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปรกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ ทนายอภิวัฒน์ ให้คำปรึกษา และร่างสัญญา ติดต่อ Tel: 081-8789145 Email: bualoi.law@hotmail.com Line ID: ajmooh ทนายเชียงใหม่ #ผู้จัดการมรดก #ร่างพินัยกรรม