ทายาทโดยธรรม ที่เป็นคู่สมรส

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม

ต้องมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548

ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

เมื่อมีการตายของคู่สมรสถือว่าสมรสสิ้นสุดตามความใน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

ต้องมีการแบ่งทรัพย์สิน โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าด้วยความยินยอมตามความใน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533  เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น จะได้รับส่วนของตน (50%) ส่วนที่เหลื่อก็จะตกทอดแก่ทายาทต่อไป (50%)

*** หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรม แต่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510

ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า

ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน

เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543

ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ.

จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง


การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น

สิทธิของภรรยานอกสมรส หรือ ภรรยาน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2506

ผู้ตายมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วคนหนึ่ง ต่อมาได้ภริยาน้อยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มาอยู่ร่วมด้วยอีกคนหนึ่ง ดังนี้ ถือว่าภริยาน้อยเข้ามาอยู่ในครอบครัวของผู้ตายในฐานะเป็นบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้น จึงหามีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนเป็นเจ้าของรวมในกองทรัพย์สินที่ด้มาระหว่างผู้ตายกับภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่
การที่สามีเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์โอนยกให้แก่บุตรโดยเสน่หานั้น เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ภริยาจะขอให้เพิกถอนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510

ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน

โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน

เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

คู่สมรสจะไม่ตัดญาติห่าง แต่ญาติจะตัดญาติด้วยกันตามหลัก ญาติสนิทตัดญาติห่าง

Photo by June on Pexels.com

Leave a Reply