ขั้นตอนการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

การร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับการจดทะเบียนรับรองบุตร ผมได้กล่าวถึง การจดทะเบียนรับรองบุตรที่ สำนักงานเขต หรือ อำเภอไว้แล้วในบทความที่แล้ว วันนี้มาดูกันถึงการ การร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ถ้าบุตรเป็นเด็กไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องใช้สิทธิทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่ง และถือเอาคำสั่งศาลไปแทนการแสดงเจตนาของเด็ก เพื่อจดทะเบียนกับนายทะเบียนต่อไป หาทนาย การยื่นคำร้องลักษณะนี้ หากไม่มีผู้คัดค้าน ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยาก ค่าวิชาชีพทนายความไม่แพง สามารถปรึกษาทนายความได้ทุกคน หรือ ติดต่อทนายอภิวัฒน์ ที่ 081-878 9145 เอกสารที่ต้องเตรียม บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรองบุตร บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านของผู้รับรองบุตร ทะเบียนบ้านของมารดาผู้เยาว์ สูติบัตรของผู้เยาว์ คำร้องขอรับรองบุตร บัญชีระบุพยาน หนังสือให้ความยินยอม ผลตรวจ DNA พ่อ ลูก (จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีจะดีมากๆ) ขั้นตอนต่างๆ ยื่นคำร้องขอรับรองบุตร (มารดาผู้เยาว์ต้องมาที่ศาลในวันยื่น) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัว เสียค่าธรรมเนียมศาล ค่าขึ้นศาล 200 บาท ค่าประกาศในหนังสือพิมพ์ 500 บาท ค่าส่งหมาย/คำคู่ความ -ถ้ามี นัดวันเพื่อไต่สวนคำร้อง (นัดวันที่มาให้การในศาลต่อหน้าองค์คณะผู้พิพากษา)… Read More ขั้นตอนการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลเมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548วรรคแรกบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่าบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กมิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิมแสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมนอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ยังได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่า การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาลและให้บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 ) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2521 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้า) ประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิด ก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อสำนักทะเบียนถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลได้โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลย เมื่อปรากฏทั้งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์และทางนำสืบว่าก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสต่อนายทะเบียนหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกาก็ยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปให้ความยินยอมจดทะเบียนว่าเด็กชาย อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้โจทก์ มอบคืนเด็กชาย อ. แก่จำเลย… Read More หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน การเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันนั้นยึดตามหลัก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่การเป็นพี่น้องร่วมบิดานั้นอาจะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4)… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ผู้สืบสันดานแบ่งได้ 3 ประเถทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว บุตรบุญธรรม บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา แบ่งได้ 2 ประเภทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาภายหลังการเกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร กรณี มารดาและบุตรให้ความยินยอม

การจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา    เนื่องจากบุตรที่เกิดจากบิดา และมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเท่านั้น ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร    สามารถทำได้โดยให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต แห่งใดก็ได้ โดยนำ    หลักฐานคือ           –  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ของบิดา มารดา และ บุตร                                             –  บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร ไปแสดง           – พยานบุคคลจำนวน 2 คน      ทั้งนี้การจดทะเบียนรับรองบุตรมารดาและบุตรต้องให้ความยินยอมด้วย ในกรณีที่มารดาหรือบุตรคัดค้านว่าบิดา     ผู้ขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ในกรณีบุตรเป็น     ผู้เยาว์ไร้เดียงสา หรือมารดาเสียชีวิตแล้ว นายทะเบียนไม่สามารถจดทะเบียนรับรองบุตรให้ได้ นอกจากจะได้ ยื่นร้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรได้ไปแสดง