การกำหนดวินัย โทษทางวินัย และการใช้มาตรการทางวินัยต่อลูกจ้าง ตอนที่ 7 เหตุแห่งการฝ่าฝืนวินัย

การกำหนดวินัย โทษทางวินัย และการใช้มาตรการทางวินัยต่อลูกจ้าง ตอนที่ 7
เหตุแห่งการฝ่าฝืนวินัย


โดยธรรมชาติ มนุษย์มักจะกระทำอะไรตามที่ใจปรารถนา และมักจะต่อต้านกับสิ่งที่มาขัดขวางต่อความต้องการ ต่อความสะดวกสบาย หรือต่อความอิสระ เมื่อวินัยเป็นข้อขัดขวางการกระทำตามอำเภอใจจึงก่อให้เกิดการฝ่าฝืนวินัยในทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นวินัยในท้องถนน (กฎจราจร) วินัยบ้านเมือง (กฎหมาย) หรือวินัยในการทำงาน (ระเบียบข้อบังคับ)


ผู้ที่กำหนดวินัยในการทำงานจึงต้องตระหนักถึงธรรมชาติของลูกจ้างว่าจักต้องมีการฝ่าฝืน ซึ่งจะต้องหามาตรการในการที่จะลดการฝ่าฝืนวินัยลงให้ได้มากที่สุด


การฝ่าฝืนวินัยอาจเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ ได้อีกหลายประการและผู้กระทำอาจรู้หรือไม่รู้สาเหตุหรือปัจจัยแห่งการกระทำนั้นก็ได้ เช่น

  • การฝ่าฝืนวินัยอาจเป็นการแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจจากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา หรือ
  • การฝ่าฝืนวินัยอาจเป็นการแสดงออกเพื่อให้ทราบว่าตนขอเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ออกระเบียบวินัย หรือต้องการให้ผู้บังคับบัญชาเสียหน้า หรือเสียความสามารถในการปกครอง
  • การฝ่าฝืนวินัยอาจเป็นเพราะความมักง่ายอันเป็นนิสัยเฉพาะตัวของลูกจ้าง ซึ่งชอบทำตัวเป็นคนหลวมๆ ไม่ชอบให้มีกฎเกณฑ์วินัยใดมาบังคับตน
  • การฝ่าฝืนวินัยอาจเป็นเพราะหลงผิดคิดว่า การฝ่าฝืนวินัยเป็นสิ่งที่กระทำแล้วจะได้รับการยกย่องชมเชยจากเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่นว่าฉลาด หรือเก่งกล้าสามารถฝ่าฝืนวินัยได้โดยนายจ้างไม่รู้หรือไม่กล้าลงโทษ เป็นตัน
Photo by Miguel u00c1. Padriu00f1u00e1n on Pexels.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s