ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
ผู้สืบสันดานแบ่งได้ 3 ประเถทคือ
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
- บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว
- บุตรบุญธรรม
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาภายหลังการเกิด
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2494
บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดมารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภริยาและจดทะเบียนการสมรสกันแล้ว จนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรมแล้วจึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาด ว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดากับมารดานั้น ไม่ชอบด้วย ก.ม.เพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกัน ดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วย ก.ม.ของบิดามารดาตลอดมา และมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาภายหลังการเกิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสียประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว
หากบิดาได้รับรองโดยการส่งเสีย เลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าเป็นบุตร ถือว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2493
ชายหญิงแต่งงานกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งถือว่าไม่เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อเกิดบุตรออกมา ชายได้แจ้งทะเบียนการเกิดของเด็กว่าเป็นบุตรของตนและชายได้อุปการะเลี้ยงดูเด็กกับแสดงกับคนอื่นทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบุตรของตน ดังนี้ถือว่าเด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกของชายนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2497
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้เลี้ยงดูในฐานะบิดากับบุตรโดยลงทะเบียนสำมะโนครัวว่าเป็นบุตรของตนและใช้นามสกุลของตนดังนี้พอฟังได้ว่าบิดาได้รับรองบุตรนอกกฎหมายนั้นเป็นบุตรของตนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บุตรนั้นย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาตามมาตรา 1629(1)
ศาลจดรายงานพิจารณาตามคำแถลงของจำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรเพื่อขอรับส่วนแบ่งมรดกด้วยโจทก์แถลงไม่คัดค้านแล้ว ดังนี้โจทก์จักกลับมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่าคำแถลงของจำเลยมิใช่เป็นคำร้องสอดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2509
เมื่อได้สืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในบางประเด็นบ้างแล้วจำเลยได้ร้องขออนุญาตต่อศาลของดการส่งสำเนาเอกสารตามที่ระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานโดยขอยื่นต้นฉบับแทนเพื่อให้ฝ่ายโจทก์ตรวจดูเมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมรับฟังพยานที่อ้างฝ่าฝืนกฎหมายนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87
พฤติการณ์ที่ชายซึ่งอยู่กินกับหญิงอย่างออกหน้าออกตานำหญิงไปคลอดที่โรงพยาบาล หมั่นไปเยี่ยมเยียนและรับกลับบ้าน จนกระทั่งขอให้แพทย์ประจำตำบลตั้งชื่อเด็กที่คลอดมานี้ย่อมทำให้ฟังได้ว่าชายได้รับรองแล้วว่าเด็กนั้นเป็นผู้สืบสันดานของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627
บุตรบุญธรรม
คือ บุตรที่ไม่ใช่ญาติสืบสายโลหิต หรือ มิใช่บุตรโดยกำเหนิดของผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2491
บุตรบุญธรรมจะมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เอาทรัพย์มรดกของผู้ตายประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งกันระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาท เมื่อได้ความว่า จำเลยก็เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดก และโจทก์ก็มิได้คัดค้านในการที่ศาลจะแบ่งส่วนให้จำเลยด้วยดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาแบ่งส่วนให้จำเลยด้วยได้และในคดีเช่นนี้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งค่าทนายศาลสั่งให้ชักจากกองมรดกก่อนแล้วจึงให้แบ่งกันระหว่างทายาท
