การกำหนดวินัย โทษทางวินัย และการใช้มาตรการทางวินัยต่อลูกจ้าง ตอนที่ 10 แนวคิดในการลงโทษ ต่อ
- โทษทางวินัยที่จะลงต่อลูกจ้างได้จะต้องเป็นโทษที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้น โทษใดที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแม้จะเบากว่าก็ไม่อาจลงโทษลูกจ้างได้
- โทษทางวินัยที่จะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้จะต้องเป็นโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย โทษที่ชอบด้วยกฎหมายต้องเป็นโทษที่ทำให้ลูกจ้างได้รับผลร้ายเกี่ยวกับการมีงานทำ การดำรงตำแหน่ง
ค่าาจ้าง สวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นในการทำงานเท่านั้น การลงโทษอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างตัน (เช่น การกักขังหรือการเฆี่ยนตี) ย่อมเป็นโทษที่มิชอบด้วยกฎหมาย - โทษทางวินัยที่ลงแก่ลูกจ้างจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้ (ถ้าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ได้กำหนดให้ลงโทษตามลำดับก่อนหลังไว้)
- โทษทางวินัย “ไม่ให้ทำงานกับนายจ้างต่อไป” เป็นโทษที่รุนแรงที่สุดเปรียบดัง “โทษประหารชีวิต” ในประมวลกฎหมายอาญา เพราะประหารความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง ลูกจ้างส่วนใหญ่
มักมีปฏิกิริยาต่อโทษสถานนี้มากที่สุด และกฎหมายก็ให้การคุ้มครองแก่ลูกจ้างสำหรับโทษฐาน “เลิกจ้าง” มากที่สุดด้วย ดังนั้น จึงไม่ควรลงโทษนี้ต่อลูกจ้างสำหรับความผิดทางวินัยครั้งแรก เว้นแต่ความผิดนั้น
ร้ายแรงถึงขนาด
