ประกันตัวทำอย่างไร

ประกันตัวทำอย่างไร

การยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว

หลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันและหลักฐานประกอบ

  1. เงินสด
  2. โฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3ก
    • หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน
    • ภาพถ่ายและแผนที่ที่ตั้งทรัพย์
  3. หลักทรัพย์มีค่าอย่างอื่นที่กำหนดมูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น พันธบัตร สลากออมสิน สมุดบัญชีเงินฝากประจำ กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ ฯลฯ
    • หนังสือรับรองของธนาคารหรือบริษัทประกันภัย
  4. การใช้บุคคลเป็นหลักประกัน
    4..1 เป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น
    – ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
    – พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างของทางราชการ ทนายความ เป็นต้น
    4..2 เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน สามีภรรยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันได้
    โดยมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัด
    บัญชีเครือญาติ
    ทำสัญญาประกันในวงเงิน 10 เท่าของเงินเดือน

หลักฐานประกอบการประกันที่ต้องนำมายื่นประกอบการขอประกันด้วย ได้แก่
-บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือใบขับขี่ พร้อมทะเบียนบ้าน ของผู้ต้องหาหรือจำเลยและผู้ประกัน พร้อมสำเนา 1 ชุด
-หนังสือยินยอมพร้อมเอกสารคู่สมรส กรณีผู้ประกันสมรส
-ใบสำคัญการหย่าหรือสำเนามรณะบัตร
-หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)
-หนังสือมอบอำนาจที่พนักงานฝ่ายปกครองรับรอง ในกรณีเจ้าของหลักทรัพย์ไม่สามารถยื่นประกันตัวด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการขอปล่อยชั่วคราว
1. ขอแบบพิมพ์คำร้องที่งานประกันตัว
2. เขียนคำร้องโดยขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (หากไม่สามารถเขียนหรือจัดทำได้เจ้าหน้าที่จะบริการเขียนให้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)
3. ยื่นคำร้องขอประกันพร้อมเอกสารประกอบที่เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์
4. ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยลงชื่อในคำร้องขอประกัน
5. เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคำร้องและเอกสารแล้ว หากถูกต้องจะนำเสนอศาลเพื่อพิจารณาสั่ง
6. เจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ขอประกันทราบ
7. หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว เจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับหลักทรัพย์ประกันและบัตรนัดให้ผู้ประกัน
8. กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศาล เจ้าหน้าที่จะออกหนังสือปล่อยตัวจากห้องควบคุมของศาล
9. กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมที่สถานีตำรวจหรือเรือนจำ เจ้าหน้าที่จะออกหมายปล่อย ณ สถานที่ที่ถูกควบคุมตัว
10. หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ผู้ขอประกันขอรับหลักทรัพย์คืนได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และสามารถที่จะยื่นขอประกันตัวใหม่ได้ (ถ้ามีเหตุผล-ข้อเท็จจริงอื่นๆ)
11. การขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา ใช้หลักเกณฑ์เดี่ยวกันแต่ศาลอาจใช้ดุลยพินิจให้เพิ่มหลักประกันได้

หน้าที่ของนายประกัน
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวแล้ว นายประกันต้องลงลายมือชื่อในสัญญาประกันและลงลายมือชื่อทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลกรณีนายประกันไม่สามารถมาศาลได้ ต้องมอบฉันทะให้ผู้อื่นกระทำการแทน โดยขอใบมอบฉันทะได้ที่งานประชาสัมพันธ์

เมื่อศาลสั่งปรับนายประกัน
ในกรณีศาลมีคำสั่งให้ปรับนายประกันตามสัญญาประกัน นายประกันต้องนำเงินมาชำระค่าปรับตามกำหนด มิฉะนั้นศาลจะมีคำสั่งยึดทรัพย์อันเป็นหลักประกันหรือทรัพย์สินอื่นๆ ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับ

ศาลจะใช้ดุลยพินิจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยถือหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้นอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างว่าจะช่วยเหลือให้ได้ประกันตัว หากมีกรณีดังกล่าวโปรดแจ้งผู้อำนวยการศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทราบทันที
Photo by kat wilcox on Pexels.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s