ทนายโนตารี่ กับ สนธิสัญญาที่กรุงเฮก ปี 1961

อีกหนึ่งหน้าที่ของทนายความ คือ รับรองลายมือชื่อและเอกสารครับ หลายท่านอาจเคยได้ยิน ทนายโนตารี่ หรือ ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ในต่างประเทศ การทำธุรกรรม ต้องมีบุคคลที่น่าเชื่อถือเป็นพยาน โดยจะมีการอบรม โนตารี่ โดยคนที่ไม่ได้เป็นทนายความแต่ในไทย กฎหมายเกี่ยวกับเรื่อง โนตารี่ยังไม่มี เพราะไทยยังไม่ให้สัตยาบัน กับ สนธิสัญญาที่กรุงเฮก ปี 1961 (HCCH 1961 Apostille Convention) การรับรองเอกสาร จึงเป็นหน้าที่ ของ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทนายความโนตารี่ สามารถรับรองเอกสารได้เกือบทุกอย่างครับ ผมได้ลิสไว้ในลิ้งค์ ด้านล่างนี้ แต่ถ้าผู้รับที่ต่างประเทศ มีข้อกำหนดว่าต้อง เป็น สนธิสัญญาที่กรุงเฮก ปี 1961 เท่านั้น เริ่มยุ่งแล้ว เพราะ โนตารี่ที่มี คุณสมบัติตามสนธิสัญญาที่กรุงเฮก ปี 1961 นั้นไม่ใช่คนไทย และ ไม่สามารถรับรองเอกสารนอกเขตอำนาจ ของตนได้ แล้วจะไปรับรองกับใคร มีกรณีหนึ่ง พึ่งบริการโนตารี่ไปเมื่อวานอยากจะมาแชร์ครับ ลูกความชาวฮ่องกง ต้องรับรองเอกสารเพื่อไปใช้โอนบ้าน… Read More ทนายโนตารี่ กับ สนธิสัญญาที่กรุงเฮก ปี 1961

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว หากมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้กระทำการชำระหนี้ และลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มาศาลในวันที่ศาลอ่านคำพิพากษา ศาลจะออกคำบังคับให้แก่ลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ โดยจะระบุรายละเอียดคือ เงินต้นดอกเบี้ย และรายละเอียดต่างๆ หลังจากที่ออกคำบังคับ แล้ว เป็นระยะเวลา ๓๐วันแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี และบังคับคดีเอากับลูกหนี้ต่อไปภายในช่วงระยะเวลาในอายุความ คำบังคับสำหรับลูกหนี้ที่ไม่ได้ไปศาลในวันนัด บางคนบอกว่าลืมนัด หรืออะไรก็แล้วแต่ ศาลจะพิจารณาคดีโดยขาดนัด คือพิจารณาคดีโดยอาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์อย่างเดียว ซึ่งก็มิได้ยุ่งยากอะไร เพราะสัญญากู้ยืมก็มีแล้ว หลักฐานการชำระ หนังสือบอกกล่าวทวงถามก็มีแล้ว ศาลท่านจะพิพากษาตาม พยานหลักฐานที่มี และอ่านคำพิพากษา ในเมื่อจำเลย หรือลูกหนี้ไม่มา ศาลท่านก็จำเป็นต้องออกคำบังคับ เพื่อแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่า ศาลพิพากษาว่าอย่างไรสำหรับเจ้าหนี้ ก็ต้องคอยนับเวลาว่า หากล่วงเลยเวลาไปแล้วนับตั้งแต่ออกคำบังคับ ๓๐ วันก็สามารถตั้งเรื่อง บังคับคดีได้เลยคับ ตัวอย่างคำบังคับ การตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หากท่านเจ้าหนี้ได้ว่าจ้างทนายความให้ดำเนินการในส่วนนี้ ก็ไม่ยากคับ ทนายความจะร่างคำร้องขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี จากนั้นก็ไปยื่นคำร้องที่ศาล ศาลท่านก็จะมีคำสั่ง และ ส่งหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปให้ที่ สำนักงานบังคับคดีการสืบทรัพย์หลังจากที่ได้คำพิพากษามาแล้ว ลูกหนี้เพิกเฉย ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องไปสืบทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ออกไปแสวงหาทรัพย์จองลูกหนี้มาให้เรานะครับ เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่จะออกไป… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 5 การบังคับคดี

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล เมื่อไม่สามารถทวงถามกันได้ ก็จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล บทนี้ผมจะมาเรียบเรียงให้เจ้าหนี้ทราบว่าจะต้องจัดการอย่างไร มีกระบวนการทางศาลอย่างไรแน่นอนว่าจะต้องติดต่อทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีครับ หลายท่านอาจจะทราบว่ากู้ยืมเงินเป็นคดีแพ่ง แต่บางกรณีก็สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาได้ ค่าทนายความส่วนใหญ่ทนายจะคิดค่าทนายจาก ทุนทรัพย์ที่จะฟ้องร้องค่าทนายนี่แล้วแต่ทนายแต่ละคนจะคิดค่าวิชาชีพกันเลยครับ แต่บางสำนักงานจะคิดค่าทนายคดีแพ่งที่ ร้อยละห้า ถึงร้อยละสิบของทุนทรัพย์ ส่วนคดีอาญานี่จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละคดีผมมานั่งคิดว่า การที่เจ้าหนี้จะดำเนินคดีเอง โดยไม่ต้องจ้างทนายนั้น ที่จริงค่อนข้างลำบาก เพราะการร่างคำฟ้องอย่างไรให้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือ การถามพยาน การถามค้านในกระบวนการพิจารณาคดี ไหนจะกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน แม้แต่นักศึกษานิติศาลตร์ ที่ยังไม่ได้ใบอนุญาตทนายความยัง หนักใจเวลาจะร่างคำฟ้อง หรือขึ้นศาล คิดดูนะครับปีหนึ่งมีคนสอบใบอนุญาตทนายความ เป็นหมื่นยังผ่านไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นท่านเจ้าหนี้ควรจะมีทนายความ ที่ท่านไว้ใจได้ และราคาอยู่ในงบประมาณของท่าน ก่อนที่จะฟ้องคดีแพ่งหรืออาญานั้น ผมมีหลักสังเกตง่ายๆ แบบนี้ครับ o ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจะไม่จ่ายตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงo ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจ่ายจริง ไม่ได้บอกกล่าวความเท็จตั้งแต่ต้น แต่เพียงว่าภายหลังไม่สามารถชำระได้ เป็นเพียงผิดสัยาทางแพ่งo ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งความผิดอันยอมความได้นั้น ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์หรือฟ้องร้องเสียภายใน สามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งวันที่รู้เรื่องความผิดนั้นก็คือ วันที่ท่านทราบว่าลูกหนี้ของท่านมีเจตนาที่จะไม่คืนเงินให้แก่ท่านตั้งแต่แรกแล้วนั่นเองo ดังนั้นหากท่านมิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องคดีดังกล่าวเสียภายในสามเดือน คดีก็เป็นอันขาดอายุความ หาอาจจะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาได้ไม่ คดีแพ่งก่อนพบทนายให้เตรียมเอกสารไปให้พร้อม… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 3 การทวงหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 3 การทวงหนี้ เป็นเจ้าหนี้ก็ลำบากแล้วยังมีกฎหมายการทวงหนี้ที่เจ้าหนี้พึงรู้นั่นคือพรบ.ทวงถามหนี้พ.ศ.​๒๕๕๘อันที่จริงเจ้าหนี้ที่ทำถูกกฎหมายก็พลอยลำบากไปด้วยเพราะเจ้าหนี้บางคนหรือ​สถาบันการเงินได้จ้างสำนักงานทนายความหรือ​บริษัทกฎหมายทวงหนี้ให้หรือบางที่ขายหนี้ให้สำนักงานทนายความในราคาที่ต่ำกว่าหนี้ เช่น ​หนี้ ​๑๐๐,๐๐๐ ​บาท​ขายให้ในราคาไม่ถึงหมื่นแล้วบริษัทที่ซื้อหนี้มาก็ไปทวงหนี้เต็มจำนวน เราเลยเห็นภาพการโทรมาทวงหนี้บางทีอาจจะใช้คำพูดที่ให้ลูกหนี้กลัวเช่นจะโดนฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาหรือ​โดนบังคับคดียึดทรัพย์และ​บัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่ก็ส่งจดหมายมาทวงหนี้ที่ทำงานของลูกหนี้เลยจดหมายก็มีตราประทับสำนักงานทนายความหรือ​บริษัททวงหนี้แถมประทับตรายางด้านหน้าซองว่า “อนุมัติฟ้อง” ให้อับอายต่อธารกำนัล ก็เลยมีกฎหมายมาปรามๆกันบ้างแต่เจ้าหนี้ควรทราบก็มีคร่าวๆดังนี้ครับ ข้อห้ามก่อนการทวงหนี้ ซึ่งหากเจ้าหนี้มีพฤติกรรมเหล่านี้จะได้รับโทษ ห้ามทางหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ห้ามเปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้ ห้ามใช้ข้อความในการติดต่อ ที่บ่งบอกว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงหนี้ ห้ามใช้ความรุนแรง ห้ามพูดจาดูหมิ่น เราเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิทวงถามก็จริงแต่เราต้องใช้สิทธิให้ถูกต้องด้วยเช่น​ติดตามทวงถามด้วยวาจาด้วยโทรศัพท์ด้วยหนังสือและการฟ้องร้องต่อศาล ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด คู่มือเจ้าหนี้ ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/12/creditor-handbook/

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้ ตามที่ผมได้บอกในบทที่แล้วว่า หนี้กว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป ต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมืชื่อผู้กู้เป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้หมายความว่า ข้อความง่ายๆที่บอกว่า ใครยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะใช้คืนเมื่อไหร่ แล้วลงลายมือชื่อผู้รับผิดก็ลายมือชื่อผู้ยืมนั่นแหละ เป็นอันใช้ได้แต่อย่าลืมนะครับว่า กฎหมายบอกว่า หากไม่มีเป็นเพียงการไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่เจ้าหนี้จะทวงกันคืนได้ตามธรรมดา สามัญของการทวงหนี้นะครับ สัญญาจำนำผมแนะนำไว้ในบทที่แล้วว่า ต้องมีหลักประกันการชำระหนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากเป็นไปได้ให้เรียกเอาทรัพย์ของผู้จะยืมเงินที่มูลค่ามากกว่าหนี้มาใว้กับตัวเจ้าหนี้ครับสัญญาจำนำ ภาษากฎหมายเรียกว่าสัญญาอุปกรณ์ กล่าวคือมันจะอยู่ของมันหลักๆ เดี่ยวไม่ได้มันต้องมีสัญญาเงินกู้เป็นหลัก และใช้ทรัพย์สินค้ำประกันเงินกู้ไว้ผมได้เติมข้อความลงไปในสัญญาเงินกู้แล้ว หากจกลงกันว่าจะมีหลักทรัพย์เป็นประกันก็สามารถ เติมรายละเอียดลงไปได้ครับผมได้เอาตัวอย่างของสัญญากู้ยืมมาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว แต่ถ้าหากต้องการดาวน์โหลด เป็นไฟล์ Microsoft Word ก็สามารถดาวน์โหลด ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ https://66lawyer.wordpress.com/2021/02/03/money-loan-contract/ ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงิน หนังสือรับสภาพหนี้การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกันก็ย่อมได้ บางครั้งตอนก่อนจะยืมก็พูดง่าย ติดต่อง่ายไปมาสดวก แต่พอกู้ไปแล้วติดต่อยาก หรือไม่ได้ทำสัญญากันให้เงินกันไปเฉยๆ ก็มีถ้ายังพอติดต่อกันได้ให้เรียกลูกหนี้มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ครับ ก็จะมีผลทางกฏหมาย สามารถใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามกฎหมายรูปแบบก็ไม่ตายตัวครับ ใช้กระดาษ เขียนว่าใคร กู้ยืมเงินใคร จำนวนเท่าไหร่ จะจ่ายกันเมื่อไหร่อย่างไร ผมเอาตัวอย่างของหนังสือรับสภาพหนี้มาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 2 สัญญาเป็นหนังสือ สัญญาเงินกู้ หนังสือรับสภาพหนี้

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

คำขิ่น พี่อร่ามสวัสดีค่ะอร่าม สวัสดีจ้าน้องคำขิ่น เป็นไรร้อยวันพันปีทักมา พี่ทำประกันแล้วนะคำขิ่น ว้ายยยย ไม่ใช่พอดีลูกจะเปิดเทอม ขาดค่าเทอมไป หมื่นหนึ่งอยากจะยืมพี่หน่อยจ้าอร่าม อืม ก่อนที่จะให้ยืมเงิน คงมีน้อยคนที่บอกว่าอยากจะให้คนมายืมเงินเยอะๆ ที่ผมพบเจอในการทำงานทนายความ ก็มีในรูปแบบของการโทรมาขอยืมเงิน หรือแชต มาในไลน์ หรือ​ทาง​เฟสบุ๊ค​ ก็น่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของ อร่าม​ ตัวละครสมมติของผม หลายๆคนคงคุ้นเคยกับบทสนทนานี้กันใช่ไหมครับ ว่า​มีคนสนิท หรือ​บางทีไม่สนิททักมาขอยืมเงิน เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าก่อนยืมเงินยืมทองกัน มีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง หนี้เงินนี้หากมิได้ตกลงกันก่อนว่าจะครบกำหนดเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดนัดเมื่อเขาเตือน กล่าวคือเจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ แต่ถ้าหากมีกำหนดระยะเวลากันแล้ว เมื่อครบกำหนดแล้วไม่ชำระจะถือว่าผิดนัด โดยมิพักต้องเตือน การยืมเงินนี้ ภาษากฎหมายเค้าเรียกว่า การยืมใช้สิ้นเปลือง จะตรงกันข้ามกับการยืมใช้คงรูป กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหอนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว และการเก็บดอกเบี้ยนั้น หากตกลงกันจะเรียกได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี แต่ถ้าหาก ยังมิได้ตกลงกัน ให้คิดได้ร้อยละ ๗.๕​ต่อปี​ ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือว่า การยืมเงินกันนั้น… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจ ทำที่❶ …………………………………. วันที่ ❷ ………………………………. โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า ❸ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….“ผู้มอบอำนาจ” ขอมอบอำนาจให้ ➍ …………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………“ ผู้รับมอบอำนาจ” มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้า ได้ดังต่อไปนี้ ❺ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………. การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้กระทำด้วยตนเองทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน ❻ลงชื่อ_____________ ผู้มอบอำนาจ( …………………………………) ❼ลงชื่อ_____________ รับผู้มอบอำนาจ(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน( …………………………………) ❾ ติดอากรแสตมป์ และ ขีดฆ่า คำอธิบายหนังสือมอบอำนาจ 🔺หัวกระดาษ หนังสือมอบอำนาจ ❶ทำที่ สถานที่ที่ทำหนังสือมอบอำนาจ อาจใช้คำว่า ทำที่ หรือ เขียนที่ ❷วันที่ วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือมอบอำนาจกัน ❸ ผู้มอบอำนาจ3.1 ผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลธรรมดานาย/นาง/นางสาว ชื่อ… Read More หนังสือมอบอำนาจ

สัญญาประณีประณอมยอมความ (นอกศาล)

ตัวอย่าง สัญญาประณีประณอมยอมความ ทําที่ ……………………………………….. สัญญาฉบับนี้ทําขึ้นเมื่อ วันที่……………………………. ระหว่าง นาย/นาง/นางสาว………………… ……………………………………..อายุ…………… ปี อยู่บ้านเลขที่……………………………………………. …………………………………หมายเลขประจําตัวประชาชน………………………………………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะ เรียกว่า “ผู้รับสัญญา” ฝ่ายหนึ่ง กับ นาย/นาง/นางสาว………………………………………………………..อายุ…………… ปี อยู่บ้านเลขที่…………………………………………….………………………………… หมายเลขประจําตัวประชาชน………………………………………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะจะเรียกว่า “ผู้ให้สัญญา” อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทําสัญญากันมีข้อความดังต่อไปนี ้ข้อ 1. ผู้ให้สัญญายอมรับว่า ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………….. ข้อ 2. ผู้ให้สัญญาตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการทํา ละเมิด ตามข้อ 1. ให้แก่ผู้รับสัญญาเป็นเงิน จํานวน ………………………………………….บาท (………………………………… บาทถ้วน) ภายในวันที่ ……………………………………………………….. ข้อ 3. ผู้รับสัญญาตกลงยอมรับค่าเสียหายตามข้อ 2.และผู้รับสัญญาไม่ติดใจเอาความ และ ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ จากผู้ให้สัญญาอีก สัญญานี้ทําขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความทั้งหมดแล้วยืนยัน ว่าถูกต้องตามเจตนา เพื่อเป็นหลักฐานคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญต่อหน้าพยาน… Read More สัญญาประณีประณอมยอมความ (นอกศาล)