คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล เมื่อไม่สามารถทวงถามกันได้ ก็จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล บทนี้ผมจะมาเรียบเรียงให้เจ้าหนี้ทราบว่าจะต้องจัดการอย่างไร มีกระบวนการทางศาลอย่างไรแน่นอนว่าจะต้องติดต่อทนายความเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีครับ หลายท่านอาจจะทราบว่ากู้ยืมเงินเป็นคดีแพ่ง แต่บางกรณีก็สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาได้ ค่าทนายความส่วนใหญ่ทนายจะคิดค่าทนายจาก ทุนทรัพย์ที่จะฟ้องร้องค่าทนายนี่แล้วแต่ทนายแต่ละคนจะคิดค่าวิชาชีพกันเลยครับ แต่บางสำนักงานจะคิดค่าทนายคดีแพ่งที่ ร้อยละห้า ถึงร้อยละสิบของทุนทรัพย์ ส่วนคดีอาญานี่จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละคดีผมมานั่งคิดว่า การที่เจ้าหนี้จะดำเนินคดีเอง โดยไม่ต้องจ้างทนายนั้น ที่จริงค่อนข้างลำบาก เพราะการร่างคำฟ้องอย่างไรให้ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือ การถามพยาน การถามค้านในกระบวนการพิจารณาคดี ไหนจะกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน แม้แต่นักศึกษานิติศาลตร์ ที่ยังไม่ได้ใบอนุญาตทนายความยัง หนักใจเวลาจะร่างคำฟ้อง หรือขึ้นศาล คิดดูนะครับปีหนึ่งมีคนสอบใบอนุญาตทนายความ เป็นหมื่นยังผ่านไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นท่านเจ้าหนี้ควรจะมีทนายความ ที่ท่านไว้ใจได้ และราคาอยู่ในงบประมาณของท่าน ก่อนที่จะฟ้องคดีแพ่งหรืออาญานั้น ผมมีหลักสังเกตง่ายๆ แบบนี้ครับ o ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจะไม่จ่ายตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงo ถ้าลูกหนี้มีเจตนาจ่ายจริง ไม่ได้บอกกล่าวความเท็จตั้งแต่ต้น แต่เพียงว่าภายหลังไม่สามารถชำระได้ เป็นเพียงผิดสัยาทางแพ่งo ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งความผิดอันยอมความได้นั้น ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์หรือฟ้องร้องเสียภายใน สามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งวันที่รู้เรื่องความผิดนั้นก็คือ วันที่ท่านทราบว่าลูกหนี้ของท่านมีเจตนาที่จะไม่คืนเงินให้แก่ท่านตั้งแต่แรกแล้วนั่นเองo ดังนั้นหากท่านมิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องคดีดังกล่าวเสียภายในสามเดือน คดีก็เป็นอันขาดอายุความ หาอาจจะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาได้ไม่ คดีแพ่งก่อนพบทนายให้เตรียมเอกสารไปให้พร้อม… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 4 การฟ้องคดีต่อศาล

คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

คำขิ่น พี่อร่ามสวัสดีค่ะอร่าม สวัสดีจ้าน้องคำขิ่น เป็นไรร้อยวันพันปีทักมา พี่ทำประกันแล้วนะคำขิ่น ว้ายยยย ไม่ใช่พอดีลูกจะเปิดเทอม ขาดค่าเทอมไป หมื่นหนึ่งอยากจะยืมพี่หน่อยจ้าอร่าม อืม ก่อนที่จะให้ยืมเงิน คงมีน้อยคนที่บอกว่าอยากจะให้คนมายืมเงินเยอะๆ ที่ผมพบเจอในการทำงานทนายความ ก็มีในรูปแบบของการโทรมาขอยืมเงิน หรือแชต มาในไลน์ หรือ​ทาง​เฟสบุ๊ค​ ก็น่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของ อร่าม​ ตัวละครสมมติของผม หลายๆคนคงคุ้นเคยกับบทสนทนานี้กันใช่ไหมครับ ว่า​มีคนสนิท หรือ​บางทีไม่สนิททักมาขอยืมเงิน เรามาเรียนรู้กันดีกว่าว่าก่อนยืมเงินยืมทองกัน มีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง หนี้เงินนี้หากมิได้ตกลงกันก่อนว่าจะครบกำหนดเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดนัดเมื่อเขาเตือน กล่าวคือเจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ แต่ถ้าหากมีกำหนดระยะเวลากันแล้ว เมื่อครบกำหนดแล้วไม่ชำระจะถือว่าผิดนัด โดยมิพักต้องเตือน การยืมเงินนี้ ภาษากฎหมายเค้าเรียกว่า การยืมใช้สิ้นเปลือง จะตรงกันข้ามกับการยืมใช้คงรูป กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653  การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม  ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหอนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว และการเก็บดอกเบี้ยนั้น หากตกลงกันจะเรียกได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี แต่ถ้าหาก ยังมิได้ตกลงกัน ให้คิดได้ร้อยละ ๗.๕​ต่อปี​ ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือว่า การยืมเงินกันนั้น… Read More คู่มือเจ้าหนี้ บทที่ 1 เจ้าหนี้ควรรู้

หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจ ทำที่❶ …………………………………. วันที่ ❷ ………………………………. โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า ❸ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….“ผู้มอบอำนาจ” ขอมอบอำนาจให้ ➍ …………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………“ ผู้รับมอบอำนาจ” มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้า ได้ดังต่อไปนี้ ❺ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………. การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้กระทำด้วยตนเองทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน ❻ลงชื่อ_____________ ผู้มอบอำนาจ( …………………………………) ❼ลงชื่อ_____________ รับผู้มอบอำนาจ(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน( …………………………………) ❾ ติดอากรแสตมป์ และ ขีดฆ่า คำอธิบายหนังสือมอบอำนาจ 🔺หัวกระดาษ หนังสือมอบอำนาจ ❶ทำที่ สถานที่ที่ทำหนังสือมอบอำนาจ อาจใช้คำว่า ทำที่ หรือ เขียนที่ ❷วันที่ วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือมอบอำนาจกัน ❸ ผู้มอบอำนาจ3.1 ผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลธรรมดานาย/นาง/นางสาว ชื่อ… Read More หนังสือมอบอำนาจ

สัญญาประณีประณอมยอมความ (นอกศาล)

ตัวอย่าง สัญญาประณีประณอมยอมความ ทําที่ ……………………………………….. สัญญาฉบับนี้ทําขึ้นเมื่อ วันที่……………………………. ระหว่าง นาย/นาง/นางสาว………………… ……………………………………..อายุ…………… ปี อยู่บ้านเลขที่……………………………………………. …………………………………หมายเลขประจําตัวประชาชน………………………………………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะ เรียกว่า “ผู้รับสัญญา” ฝ่ายหนึ่ง กับ นาย/นาง/นางสาว………………………………………………………..อายุ…………… ปี อยู่บ้านเลขที่…………………………………………….………………………………… หมายเลขประจําตัวประชาชน………………………………………………….. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะจะเรียกว่า “ผู้ให้สัญญา” อีกฝ่ายหนึ่ง คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทําสัญญากันมีข้อความดังต่อไปนี ้ข้อ 1. ผู้ให้สัญญายอมรับว่า ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………….. ข้อ 2. ผู้ให้สัญญาตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการทํา ละเมิด ตามข้อ 1. ให้แก่ผู้รับสัญญาเป็นเงิน จํานวน ………………………………………….บาท (………………………………… บาทถ้วน) ภายในวันที่ ……………………………………………………….. ข้อ 3. ผู้รับสัญญาตกลงยอมรับค่าเสียหายตามข้อ 2.และผู้รับสัญญาไม่ติดใจเอาความ และ ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ จากผู้ให้สัญญาอีก สัญญานี้ทําขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านข้อความทั้งหมดแล้วยืนยัน ว่าถูกต้องตามเจตนา เพื่อเป็นหลักฐานคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสําคัญต่อหน้าพยาน… Read More สัญญาประณีประณอมยอมความ (นอกศาล)

สิทธิ และ หน้าที่ ของนายจ้าง

สิทธิของนายจ้าง มอบงานให้ลูกจ้างทำ (ม.575) โอนความเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่น เมื่อลูกจ้างยินยอม (ม.577) บอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างรับรองว่าตนเองมีฝีมือ แต่ภายหลังปรากฏว่า ลูกจ้างไร้ฝีมือ (ม.578) จ่ายสินจ้างเมื่องานแล้วเสร็จ หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้างนั้น (ม.580) เรียกร้องค่าเสียหาย ถ้าลูกจ้างออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (ม.582) เรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างจงใจ หรือประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหาย หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ มีสิทธิออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฎิบัติงานได้ (ม.583) ออกคำสั่งให้ทำงานแผนกใหม่ให้ย้ายไปทำงานต่างจังหวัดเงินเดือน สวัสดิการ เท่าเดิม   หน้าที่ของนายจ้าง จ่ายสินจ้าง หรือ ค่าจ้าง (ม.575) ต้องจ่ายเมื่อใด (ม.580) ตามกำหนดในสัญญาตามจารีตประเภณีเมื่องานเสร็จแล้วเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง  บอกกล่าวเลิกสัญญาล่วงหน้า สัญญาที่มีกำหนดเวลา = ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า สัญญาที่ไม่ได้กำหนดเวลาการจ้าง  = ต้องบอกกล่าวให้ทราบก่อนที่จะเลิกสัญญา บอกกล่าวเลิกสัญญาล่วงหน้า (ม.582) บอกให้ลูกจ้างทราบในวันจ่ายสินจ้างหรือก่อนวันจ่ายสินจ้างคราวนี้ เพื่อให้มีผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า ถาม บอกเลิกจ้างแล้วให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีจะทำได้หรือไม่ ตอบ นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่ทำให้ถูกต้อง อาจถูกลูกจ้างฟ้องให้จ่ายสินจ้างได้ การออกใบสำคัญแสดงการทำงาน (ม.585) การใช้ค่าเดินทางขากลับให้

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน ทำอย่างใรให้ใช้บังคับได้ทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้าง

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน หนังสือสัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกสารที่ นายจ้าง กับลูกจ้างแต่ละคนได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานว่านายจ้างกับลูกจ้างได้ตกลงจ้างแรงงานกันอย่างไร มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาอย่างไร ในปัจจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดบังคับให้นายจ้างกับลูกจ้างต้องทำหนังสือสัญญาจ้างแรงงานไว้ คงมีแต่บทบัญญัติของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ที่กำหนดไว้ว่า หากนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างงานตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าว และสัญญาจ้างแรงงานนั้นมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น การทำสัญญาจ้างแรงงาน ก่อนทำสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างกับลูกจ้างควรเจรจาตกลงในสาระสำคัญของการจ้างแรงาน พร้อมทั้งเงื่อนไขและเงื่อนเวลาให้ครบถ้วน ก่อนที่จะทำและลงชื่อในสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานควรมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อสัญญา (ควรระบุว่าเป็น “สัญญาจ้างแรงงาน” ไม่ควรระบุถ้อยคำอื่น เช่น “สัญญาทดลองงาน” เนื่องจากการทดลองงานเป็นเพียงเงื่อนไขการจ้างเท่านั้น) (2) สถานที่ทำสัญญา (ควรระบุให้ชัดเจน ตั้งแต่เลขที่บ้าน ซอย ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงรหัสไปรษณีย์) (3) วันเดือนปีที่ทำสัญญา (ควรระบุวันเดือนปีที่ลงลายมือชื่อในสัญญา) (4) ชื่อและภูมิลำเนาของคู่สัญญา (ควรระบุถ้อยคำว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นสัญญาระหว่างผู้ใดซึ่งเป็นฝ่ายนายจ้างกับผู้ใดซึ่งเป็นฝ่ายลูกจ้าง สำหรับชื่อของนายจ้างนั้น หากเป็นนิติบุคคลก็ต้องระบุชื่อบุคคลที่มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคลนั้นไว้ด้วย หากเป็นบุคคลธรรมดาก็ระบุชื่อและชื่อสกุลให้ชัดเจน รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่ถูกต้องเพื่อแสดงเพศ และหากระบุถึงเลขหมายประจำตัวในบัตรประจำตัวประชาชนได้ด้วยก็จะยิ่งดี พร้อมทั้งระบุอายุ และภูมิลำเนาโดยละเอียดของนายจ้างตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนด้วย ส่วนลูกจ้างก็ระบุชื่อ… Read More หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน ทำอย่างใรให้ใช้บังคับได้ทั้งนายจ้าง และ ลูกจ้าง

หลัก No work, No pay

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ มาตรา 369  ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้… Read More หลัก No work, No pay

มรดกคืออะไร

มาตรา 1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เงินสงเคราะห์ ชพค เป็นมรดกหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507 เงินช่วยเพื่อนครู(ช.พ.ค.) ซึงสมาชิกช่วยกันบริจาค เพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวของสมาชิกคนใดคนหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมลงนั้น ไม่ใช่กองมรดกของผู้ตาย ผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกให้ใครไม่ได้ กล่าวโดยสรุปว่า หากทรัพย์ ซึ่งเป็นของผู้ตาย หรือผู้ตายมีสิทธิได้รับอยู่แล้วก่อนตาย ย่อมถือว่าเป็นมรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515 เงินช่วยพิเศษซึ่งจ่ายให้ในกรณีข้าราชการตายในระหว่างรับราชการเป็นจำนวนสามเท่าของอัตราเงินเดือน ในอัตราที่ถือจ่ายอยู่เมื่อถึงแก่ความตายนั้น มิใช่เงินเดือนของข้าราชการ แต่เป็นเงินพิเศษอีกส่วนหนึ่งซึ่งทางราชการจ่ายให้เมื่อข้าราชการผู้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว จะตกได้แก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกาบัญญัติไว้ จึงมิใช่มรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะมิใช่เป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายเงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ หมายความรวมถึง บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคลอีกฝ่ายหนึ่งปฎิบัติตามสัญญาหรือตามกฎหมายที่ให้อำนาจ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2534/2497 โจทก์มรณะภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีย่อมตกทอดมายังทายาทต่อไป. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524 สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง… Read More มรดกคืออะไร

ร่างสัญญา

ร่างสัญญา #ทนายอภิวัฒน์ เมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายตกลง มีคำเสนอถูกต้องตรงงกันย่อมก่อให้เกิดสัญญา สัญญาคือ การตั้งข้อสมมุติว่า หากในอนาคด หากเกิดเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งขี้้นในอนาคดจะจัดการอย่างไร มาตรา 361 อันสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางนั้น ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง หรือตามปรกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ ทนายอภิวัฒน์ ให้คำปรึกษา และร่างสัญญา ติดต่อ Tel: 081-8789145 Email: bualoi.law@hotmail.com Line ID: ajmooh ทนายเชียงใหม่ #ผู้จัดการมรดก #ร่างพินัยกรรม