หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจ ทำที่❶ …………………………………. วันที่ ❷ ………………………………. โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า ❸ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….“ผู้มอบอำนาจ” ขอมอบอำนาจให้ ➍ …………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………“ ผู้รับมอบอำนาจ” มีอำนาจกระทำการแทนข้าพเจ้า ได้ดังต่อไปนี้ ❺ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………………………………. การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนว่าข้าพเจ้าได้กระทำด้วยตนเองทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน ❻ลงชื่อ_____________ ผู้มอบอำนาจ( …………………………………) ❼ลงชื่อ_____________ รับผู้มอบอำนาจ(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน(………………………………… ) ❽ลงชื่อ_____________ พยาน( …………………………………) ❾ ติดอากรแสตมป์ และ ขีดฆ่า คำอธิบายหนังสือมอบอำนาจ 🔺หัวกระดาษ หนังสือมอบอำนาจ ❶ทำที่ สถานที่ที่ทำหนังสือมอบอำนาจ อาจใช้คำว่า ทำที่ หรือ เขียนที่ ❷วันที่ วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือมอบอำนาจกัน ❸ ผู้มอบอำนาจ3.1 ผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลธรรมดานาย/นาง/นางสาว ชื่อ… Read More หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือที่ต้องใช้อ่านเตรียมสอบใบอนุญาติทนายความ

วันนี้จะมาพูดถึงหนังสือที่ต้องใช้อ่านเตรียมสอบใบอนุญาติทนายความกันครับ หนังสือเหล่านี้บางเล่มหาซื้อง่ายบางเล่มหาซื้อยากต้องถามร้านหนังสือดูนะครับใน Facebook Group จะมีกลุ่ม สำหรับขายหนังสือกฎหมายมือสอง ยังไงลองเข้าไปดูในกลุ่มนั้นก็ได้ แต่ผมรวบรวมเอา 5 เล่ม ที่ทุกคนรู้จักมาไว้ในบทความนี้ เล่มน้ำเงิน เป็นรวมข้อสอบเก่า และ ธงคำสอบภาคทฤษฎี ซึ่งจัดพิมพ์โดยสภาทนายความแห่งประเทศไทย จะเป็นธงคำตอบจะเป็นตัวอย่างข้อสอบเก่าเลยว่าในแต่ละปีข้อสอบมีอะไรบ้างทั้งข้อสอบอัตนัยและปรนัยพร้อมเฉลย เล่มแดง เป็นหนังสือรวมข้อสอบเก่าเนื้อทองคำตอบภาคปฏิบัติซึ่งจัดพิมพ์โดยสภาทนายความเช่นกัน เล่มขาว เล่มนี้เป็นคำตอบข้อสอบเก่า และ ธงคำตอบ ของการสอบภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติในรุ่นที่ยังไม่ได้รวบรวม เข้าไปในเล่มน้ำเงิน เล่มแดง สภาทนายความแห่งประเทศไทยก็ขาย ทีละรุ่นเลยครับ สามารถแยกซื้อได้ จะเป็นเล่มสีขาวบางๆ เล่มฟ้า เล่มนี้ชื่อจริงว่า วิชาว่าความและมรรยาททนายความ เขียนโดย อาจารย์มารุตบุนนาค ที่จริงเล่มที่ตีพิมพ์ใหม่ๆ อาจจะไม่ใช่สีฟ้าแล้ว แต่ผมใช้ชื่อว่าสีฟ้าให้ดูเข้ากับ ธีมครับ อาจารย์มารุตเขียนในเชิงบรรยาย และ เป็นตัวอย่างว่าคดีแบบนี้ ต้องเขียนแบบนี้คดีแบบนั้น ต้องเขียนแบบนั้น สามารถนำไปใช้สอบ และ นำไปใช้งานเป็นทนายความจริงได้เลยครับ ผมก็ใช้อยู่บางครั้ง ที่ต้องหาตัวอย่างคำฟ้อง หรือ คำให้การ เล่มส้ม เล่มนี้ชื่อจริงว่าคู่มือเตรียมสอบทนายความ… Read More หนังสือที่ต้องใช้อ่านเตรียมสอบใบอนุญาติทนายความ

การอ่านหนังสือติวสอบเอง หรือ การลงติวกับสถาบันติว แบบไหนดีกว่ากัน

วันนี้จะมาเล่าให้พี่น้องนักกฏหมายที่อยากจะติวสอบใบอนุญาติทนายความว่า การอ่านหนังสือติวสอบเอง หรือ การลงติวกับสถาบันติว แบบไหนดีกว่ากันครับ 1 การติวเองการติวเองนี่ก็มีข้อดีคือความประหยัดครับ แค่หาหนังสือข้อสอบเก่ามาอ่าน ข้อสอบเก่าทุกรุ่น สภาทนายความจะพิมพ์ออกมาขาย เล่มน้ำเงินเป็นข้อสอบภาคทฤษฏี เล่มแดงเป็นข้อสอบภาคปฏิบัติ บางคนใช้วิธีขอชีทของคนที่สอบผ่านแล้ว มาถ่ายเอกสาร หรือ เอาชีทของสถาบันติวมาถ่ายเอกสาร ผมไม่แนะนำให้ทำวิธีนี้นะครับ ประการแรกมันเป็นการละเมิดลิขสิทธิของสถาบันติว ประการที่สองข้อมูลในธงคำตอบของเล่มแดง เล่มน้ำเงิน กับชีทเก่านั้นล้าสมัยแล้วครับ เอาง่ายๆ มีใครกล้าซื้อวิธีพิจจารณาความเล่มหนาๆ บ้างครับ เพราะกฏหมายมีการปรับปรุงตลอด ถ้าเราจำไปผิดๆ ก็เอาไปตอบผิดๆ สู้ เราเรียนกับรุ่นล่าสุด ข้อมูลอัพเดทล่าสุดดีกว่า 2 การติวกับสถาบันติวเตอร์ เคยได้ยินคำพูดที่ว่า “คำปรึกษาที่ราคาแพงที่สุดคือ คำปรึกษาฟรี” กันไหมครับ เพราะคนที่สอน หรือ ให้คำปรึกษาเค้าไม่ต้องรับผิดชอบกับผลที่เขาบอก รุ่นพี่อาจจะบอกว่า เอาชีทพี่ไปถ่ายเอกสารเลย เอา USB ไดรฟ์ มาพี่จะโหลดคลิปที่พี่ไปดูดมาจากที่เรียนรุ่นก่อนหน้าโน้นกับอาจารย์อีกที พอสอบไม่ผ่าน ก็บอกว่า อ้าว ไม่ผ่านหรอ แต่ตัวคนที่ลงสอบต้องรอสอบรุ่นหน้า เสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว เสียเวลาไปแล้ว กว่าจะสอบทฤษฎีผ่าน ฝึกงาน สอบปฎิบัติ… Read More การอ่านหนังสือติวสอบเอง หรือ การลงติวกับสถาบันติว แบบไหนดีกว่ากัน

แนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

วันนี้อยากจะมาแนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพราะในการที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทนายความเราต้องเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาก่อนนะครับ เนติบัณฑิตยสภาจะมีสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญสมาชิกสามัญหมายถึงผู้ที่สอบเนติบัณฑิตได้แล้วส่วนผู้ที่สมัครวิสามัญสมาชิกแบ่งเป็น 2 กลุ่มนะครับ กลุ่มแรกคือ นักศึกษาที่จบการศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยรามคำแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ 30 ปีที่แล้วมีมหาวิทยาลัยเพียง 5 มหาวิทยาลัยนี้ ที่สอนเกี่ยวกับนิติศาสตร์ภายหลังมีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นที่สอนเกี่ยวกับนิติศาสตร์ แต่ข้อบังคับของเนติบัณฑิตยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง คนที่จบ 5 มหาวิทยาลัยนี้สามารถได้ใบอนุญาตเป็นทนายความเร็วกว่ามหาวิทยาลัยอื่นได้ประมาณ 6 เดือนครับ กลุ่มนี้จากจบการศึกษาสามารถขอใบจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปขึ้นทะเบียนได้เลยสำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ใช้เอกสาร มสธ 15 กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมวิชาว่าความ จากสภาทนายความ ซึ่งก็ต้องเป็น คู่ที่จบอนุปริญญาด้านนิติศาสตร์หรือ ผู้ที่จบนิติศาสตร์บัณฑิต หลังจากจบการศึกษาแล้วหรือหลังจากได้รับใบประกาศนียบัตรจากสภาทนายความแล้วให้เตรียมเอกสารและเดินทางไปที่เนติบัณฑิตยสภาด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักสามารถเดินทางโดยรถแท็กซี่ไปที่เนติบัณฑิตได้เลยหรือจะไปรถไฟฟ้าที่สถานีรถไฟฟ้า บางหว้าแล้วต่อรถแท็กซี่ไปจะสะดวกที่สุดครับ เอกสารของการสมัครวิสามัญสมาชิกต้องมีสามัญสมาชิกที่มีที่เป็นสามัญสมาชิกแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี 2 ท่านลงชื่อในใบสมัครของเราพูดง่ายๆคือคนที่เรียนจบแล้วเป็น เนติบัณฑิตไทยครบ 10 ปี ผมไม่รู้จักใครเลยก็ใช้วิธีไปที่เนติบัณฑิตแล้วขอเข้าพบอาจารย์ผู้สอนที่เนติบัณฑิตแล้วให้อาจารย์ลงชื่อให้ 2 ท่านอาจารย์ท่านก็ใจดีถามเรานิดหน่อยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เราจบมาและถามว่าเรามาจากจังหวัดไหนท่านก็ลงชื่อให้ ที่จริงเจ้าหน้าที่ที่ฝ่ายรับสมัครจะถามว่ามีใครเซ็นให้หรือยังไม่ใช่มีแค่เราที่ไม่มีใครเซ็นให้หลายคนก็เดินไปให้อาจารย์เซ็นผมก็เดินตามพวกเขาไปเข้าแถวหาอาจารย์ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์อยู่ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือ อยู่ที่ห้องพักอาจารย์ชั้นบนสามารถไปขอให้ท่านเซ็นได้ เพื่อนบางคนทำงานที่ศาลอยู่แล้วก็ขอให้ท่านผู้พิพากษาลงชื่อให้ก็ได้ รูปถ่ายที่เราไปให้มั่นใจว่าเป็นรูปถ่าย 2… Read More แนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

วิธีการสอบเพื่อได้ใบอนุญาตเป็นทนายความ

สวัสดีครับเพื่อนนักศึกษานิติศาสตร์ทุกท่านวันนี้ผมจะมาอธิบายถึงวิธีการสอบเพื่อได้ใบอนุญาตเป็นทนายความนะครับ ก่อนอื่นการสอบได้ใบอนุญาตทนายความแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกเรียกว่าการสอบแบบรุ่น หรือ ตั๋วรุ่นแบบที่ 2 คือการสอบแบบผู้ฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี หรือตั๋วปีครับ ก็อยากจะบอกว่าเราสามารถพูดกันเอง เป็นชื่อเล่น ว่าใบอนุญาตเป็นทนายความคือ ตั๋ว นะครับแต่ในการพูดอย่างเป็นทางการ เราจะใช้ว่าใบอนุญาตนะครับ ณ ที่นี้ผมจะใช้ภาษาให้ถูกเลยนะครับ ก่อนที่จะสอบอะไรนะครับผมแนะนำอย่างนี้เลยทันทีที่รู้ว่าจบการศึกษาขอให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 5 มหาวิทยาลัย ดังกล่าวต่อไปนี้นำใบรับรองการจบการศึกษา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท ได้แก่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารมสธ 15 ครับ เพราะการที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทนายความต้องขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาก่อนนักศึกษาที่มาจบจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นนอกเหนือจาก 5 มหาวิทยาลัยนี้เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องได้ประกาศนียบัตรจากสภาทนายความก่อ ถึงจะนำใบประกาศนียบัตรไปจดทะเบียนวิสามัญสมาชิกได้กระบวนการขึ้นทะเบียนวิสามัญสมาชิกใช้เวลาประมาณ 6 เดือนครับ สำหรับ 5 มหาวิทยาลัยที่ขึ้นทะเบียนแล้วก็สามารถตัดสินใจสอบเป็นทนายความได้ 2 แบบอย่างที่บอกไว้แล้วผมจะเริ่มอธิบายจากการสอบแบบรุ่นก่อนนะครับ การสอบแบบรุ่น แบ่งออกเป็น 2 ช่วงนะครับคือ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเราต้องผ่านภาคทฤษฎีก่อนหลังจากนั้นเราจะไปฝึกงานในสำนักงานทนายความ 6 เดือนและสอบภาคปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง… Read More วิธีการสอบเพื่อได้ใบอนุญาตเป็นทนายความ