ทายาทในกองมรดก

มาตรา 1599  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” ทายาทโดยธรรม มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมใช้หลัก “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” ทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับนั้นไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน เพราะหากทายาทลำดับต้นยังมีชีวิตอยู่ ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับนั้นเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก ทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540 ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่… Read More ทายาทในกองมรดก

มรดกคืออะไร

มาตรา 1600  ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เงินสงเคราะห์ ชพค เป็นมรดกหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507 เงินช่วยเพื่อนครู(ช.พ.ค.) ซึงสมาชิกช่วยกันบริจาค เพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวของสมาชิกคนใดคนหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมลงนั้น ไม่ใช่กองมรดกของผู้ตาย ผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกให้ใครไม่ได้ กล่าวโดยสรุปว่า หากทรัพย์ ซึ่งเป็นของผู้ตาย หรือผู้ตายมีสิทธิได้รับอยู่แล้วก่อนตาย ย่อมถือว่าเป็นมรดก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515 เงินช่วยพิเศษซึ่งจ่ายให้ในกรณีข้าราชการตายในระหว่างรับราชการเป็นจำนวนสามเท่าของอัตราเงินเดือน ในอัตราที่ถือจ่ายอยู่เมื่อถึงแก่ความตายนั้น มิใช่เงินเดือนของข้าราชการ แต่เป็นเงินพิเศษอีกส่วนหนึ่งซึ่งทางราชการจ่ายให้เมื่อข้าราชการผู้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว จะตกได้แก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกาบัญญัติไว้ จึงมิใช่มรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะมิใช่เป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายเงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ หมายความรวมถึง บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคลอีกฝ่ายหนึ่งปฎิบัติตามสัญญาหรือตามกฎหมายที่ให้อำนาจ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2534/2497 โจทก์มรณะภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว สิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีย่อมตกทอดมายังทายาทต่อไป. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524 สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง… Read More มรดกคืออะไร

จดทะเบียนรับรองบุตร การฟ้องคดีรับเด็กเป็นบุตร

จดทะเบียนรับรองบุตร การฟ้องคดีรับเด็กเป็นบุตร #ทนายอภิวัฒน์ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน สิทธิในตัวลูกจะเป็นของแม่แต่คนเดียว พ่อจึงต้องจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นหาก มารดาและบุตรให้ความยินยอมแล้ว บิดาสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรที่ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ แต่ถ้าเด็กอายุน้อยจนไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตามกฏหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวันในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ ทนายอภิวัฒน์ ให้คำปรึกษา และจดทะเบียนรับรองบุตร ติดต่อ Tel: 081-8789145 Email: bualoi.law@hotmail.com Line ID: ajmooh ทนายเชียงใหม่ #รับรองบุตร #จดทะเบียนรับรองบุตร

ขอตั้งผู้จัดการมรดก

ขอตั้งผู้จัดการมรดก #ทนายอภิวัฒน์เมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต และไม่มีพินัยกรรม การทำธุรกรรมจึงมีเหตุขัดข้องไม่สามารถ โอนทรัพย์สินให้แก่ทายาทได้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1711 ผู้จัดการมรดกนั้นรวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆการตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ทนายอภิวัฒน์ ให้คำปรึกษา และยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ติดต่อ Tel: 081-8789145 Email: bualoi.law@hotmail.com Line ID: ajmooh ทนายเชียงใหม่ #ผู้จัดการมรดก

การขอตั้งผู้จัดการมรดก

การขอตั้งผู้จัดการมรดก การจัดการทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตหรือเจ้ามรดกนั้น หากได้ทำพินัยกรรมไว้แล้วในพินัยกรรม อาจระบุว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก สามารถนำพินัยกรรมนั้นมาร้องขอต่อศาล เพื่อมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ การทำพินัยกรรม เป็นนิติกรรมที่มีแบบชัดเจน ผมจะกล่าวถึงในบทความครั้งต่อไปแต่ครั้งนี้จะพูดถึงกรณีที่เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว ไม่ได้มีพินัยกรรม ทายาทต้องร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก กระบวนการตั้งผู้จัดการมรดก และการร้องขอต่อศาลไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีค่าใช้จ่ายมาก สามารถให้ทนายความดำเนินการได้ บางกรณีถ้าไม่มีผู้คัดค้าน อาจดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลให้เสร็จภายในวันเดียว หากไม่ตั้งผู้จัดการมรดก ทรัพย์มรดกจะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆได้ เช่น บัญชีในธนาคาร โฉนดที่ดินทะเบียนรถก็ ไม่สามารถจัดการได้ ขอทำความเข้าใจกันก่อนว่าผู้จัดการมรดก ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์มรดก เป็นเพียงผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทน เจ้ามรดกในการแบ่งทรัพย์สิน โอนทรัพย์สิน จดทะเบียน กับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กล่าวถึงสิทธิของการรับมรดก โดยทายาทนี้เรียกว่า ทายาทโดยธรรมใน มาตราที่ 1629 กล่าวถึงทายาทโดยธรรม 6 ลําดับดังนี้ ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานลำดับที่ 2 บิดามารดาลำดับที่ 3 พี่ น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกันลำดับที่ 4 พี่ น้องร่วมบิดาหรือ มารดาเดียวกันลำดับที่ 5… Read More การขอตั้งผู้จัดการมรดก