ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (5) ปู่ ย่า ตา ยาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ปู่ ย่า ตา ยาย ปู่ ย่า ตา ยาย หมายถึงบุพการี โดยตรงขึ้นไปเท่านั้น คือ บิดา มารดา ของ บิดา หรือ มารดาเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายรวมถึง พี่น้องร่วมบิดามารดาของ ปู่ย่าตายาย

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน การเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันนั้นยึดตามหลัก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่การเป็นพี่น้องร่วมบิดานั้นอาจะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4)… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 การร่วมมารดานั้นไม่มีปัญหาทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่การร่วมบิดานั้นศาลได้มีคำพิพากษาแล้วคือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2529 การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมายบิดามารดาไม่จำต้องจดทะเบียนสมรสกัน แต่ต้องถือตามความเป็นจริงช.ผู้ตายเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ ไม่มีผู้สืบสันดานและบิดามารดาก็ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์เป็นทายาทลำดับ 3 ของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629และเป็นผู้จัดการศพของ ช.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพจากผู้ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ช.ตายโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวของ ช.ร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลย คือ ค่าปลงศพค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 1 โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการบรรยายว่าโจทก์ฟ้องในฐานะทายาทซึ่งเป็นผู้ปลงศพ ช.ผู้ตาย และในฐานะที่โจทก์ที่ 1เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งละเมิดว่าต้องเสียหายอย่างไรบ้าง ฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างแห่งข้อหา โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายในรายละเอียดและแสดงหลักฐานมาในฟ้องว่าได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ผู้สืบสันดานแบ่งได้ 3 ประเถทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว บุตรบุญธรรม บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา แบ่งได้ 2 ประเภทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาภายหลังการเกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา

ทายาทในกองมรดก

มาตรา 1599  เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” ทายาทโดยธรรม มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมใช้หลัก “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” ทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับนั้นไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน เพราะหากทายาทลำดับต้นยังมีชีวิตอยู่ ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับนั้นเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก ทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเลย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540 ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่… Read More ทายาทในกองมรดก