ขั้นตอนการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

การร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับการจดทะเบียนรับรองบุตร ผมได้กล่าวถึง การจดทะเบียนรับรองบุตรที่ สำนักงานเขต หรือ อำเภอไว้แล้วในบทความที่แล้ว วันนี้มาดูกันถึงการ การร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ถ้าบุตรเป็นเด็กไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องใช้สิทธิทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่ง และถือเอาคำสั่งศาลไปแทนการแสดงเจตนาของเด็ก เพื่อจดทะเบียนกับนายทะเบียนต่อไป หาทนาย การยื่นคำร้องลักษณะนี้ หากไม่มีผู้คัดค้าน ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยาก ค่าวิชาชีพทนายความไม่แพง สามารถปรึกษาทนายความได้ทุกคน หรือ ติดต่อทนายอภิวัฒน์ ที่ 081-878 9145 เอกสารที่ต้องเตรียม บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรองบุตร บัตรประจำตัวประชาชนของมารดาผู้เยาว์ ทะเบียนบ้านของผู้รับรองบุตร ทะเบียนบ้านของมารดาผู้เยาว์ สูติบัตรของผู้เยาว์ คำร้องขอรับรองบุตร บัญชีระบุพยาน หนังสือให้ความยินยอม ผลตรวจ DNA พ่อ ลูก (จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีจะดีมากๆ) ขั้นตอนต่างๆ ยื่นคำร้องขอรับรองบุตร (มารดาผู้เยาว์ต้องมาที่ศาลในวันยื่น) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัว เสียค่าธรรมเนียมศาล ค่าขึ้นศาล 200 บาท ค่าประกาศในหนังสือพิมพ์ 500 บาท ค่าส่งหมาย/คำคู่ความ -ถ้ามี นัดวันเพื่อไต่สวนคำร้อง (นัดวันที่มาให้การในศาลต่อหน้าองค์คณะผู้พิพากษา)… Read More ขั้นตอนการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลเมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548วรรคแรกบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่าบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กมิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิมแสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมนอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ยังได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่า การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาลและให้บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2501 การที่หญิงจำเลยรับว่าบุตรของตนเกิดจากชายซึ่งเป็นโจทก์โดยโจทก์จำเลยได้เสียกันแต่มิได้จดทะเบียนสมรส เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นเหตุพอที่จะชี้ขาดให้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของโจทก์ทีเดียว ในเมื่อฝ่ายจำเลยยังคัดค้านอยู่ จำต้องพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุผลอย่างใดที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาให้จดทะเบียนตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 1527( ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2501 ) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2521 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้า) ประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิด ก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อสำนักทะเบียนถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลได้โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลย เมื่อปรากฏทั้งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์และทางนำสืบว่าก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสต่อนายทะเบียนหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกาก็ยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปให้ความยินยอมจดทะเบียนว่าเด็กชาย อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้โจทก์ มอบคืนเด็กชาย อ. แก่จำเลย… Read More หลักกฎหมายการร้องต่อศาลขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร กับ การจดทะเบียนรับรองบุตร

การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วทายาทได้ไปยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดก ตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้นมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น กรณีถูกกำจัด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2537 แม้ผู้จัดการมรดกได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกมาเป็นของตนก่อนถูกฟ้องคดีถึง 7 ปี เศษแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดก หาใช่การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วได้มีการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแต่อย่างใด จึงถือได้ว่าผู้จัดการมรดกได้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดไว้แทนทายาทการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องจัดการแบ่งปันตามส่วนสัดของทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทตามกฎหมาย เว้นแต่ทายาทจะตกลงยินยอมกันการที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเป็นของตนทั้งหมด และภายหลังโอนยกให้โดยเสน่หาแก่บุตรของผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง โดยไม่ยอมแบ่งปันแก่บุตรต่างบิดาซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก ทั้งที่ผู้จัดการมรดกทราบดีว่าเจ้ามรดกมีบุตรกี่คนแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกมีพฤติการณ์ยักย้ายถ่ายเททรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ จึงถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของเจ้ามรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 วรรคแรก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ บ. โดย บ.มีบุตร 4 คน คือโจทก์ทั้งสองจำเลย และ จ. แต่ จ.ถึงแก่ความตายก่อน บ. โดย จ.มีบุตร 3 คน บ.ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม… Read More การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก

การรับมรดกแทนที่กัน

เป็นกรณีที่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกได้ตายก่อนเจ้ามรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1642  การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม หาก ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป (1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699  ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดิน แล้วแต่กรณี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2492 เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีความว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายแล้วขอยกทรัพย์สมบัติให้แก่ ร. และส. โดยให้คนละครึ่งเท่าๆ กันผู้อื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์ของตนไม่ได้ ปรากฏว่า ร. ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกให้ ร. จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบกับมาตรา 1620 วรรคสอง คือเมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม ก็ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกการรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม ทายาทในลำดับใด ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 คือ(1)… Read More การรับมรดกแทนที่กัน

ทายาทโดยธรรม ที่เป็นคู่สมรส

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ต้องมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548 ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร(2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่… Read More ทายาทโดยธรรม ที่เป็นคู่สมรส

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (6) ลุง ป้า น้า อา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ลุง ป้า น้า อา ลุง ป้า น้า อา ต้องเป็น สายเดียวกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491 ข.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามฤดก ป.เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามฤดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำกัด 6 ในมาตรา 1629 เช่นเดียวกันญาติลำดับ… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (6) ลุง ป้า น้า อา

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (5) ปู่ ย่า ตา ยาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ปู่ ย่า ตา ยาย ปู่ ย่า ตา ยาย หมายถึงบุพการี โดยตรงขึ้นไปเท่านั้น คือ บิดา มารดา ของ บิดา หรือ มารดาเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายรวมถึง พี่น้องร่วมบิดามารดาของ ปู่ย่าตายาย

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน การเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันนั้นยึดตามหลัก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น แต่การเป็นพี่น้องร่วมบิดานั้นอาจะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4)… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 การร่วมมารดานั้นไม่มีปัญหาทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่การร่วมบิดานั้นศาลได้มีคำพิพากษาแล้วคือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2529 การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมายบิดามารดาไม่จำต้องจดทะเบียนสมรสกัน แต่ต้องถือตามความเป็นจริงช.ผู้ตายเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ ไม่มีผู้สืบสันดานและบิดามารดาก็ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์เป็นทายาทลำดับ 3 ของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629และเป็นผู้จัดการศพของ ช.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพจากผู้ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ช.ตายโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวของ ช.ร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลย คือ ค่าปลงศพค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 1 โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใดขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการบรรยายว่าโจทก์ฟ้องในฐานะทายาทซึ่งเป็นผู้ปลงศพ ช.ผู้ตาย และในฐานะที่โจทก์ที่ 1เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งละเมิดว่าต้องเสียหายอย่างไรบ้าง ฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างแห่งข้อหา โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายในรายละเอียดและแสดงหลักฐานมาในฟ้องว่าได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ(1) ผู้สืบสันดาน(2) บิดามารดา(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ผู้สืบสันดานแบ่งได้ 3 ประเถทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว บุตรบุญธรรม บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา แบ่งได้ 2 ประเภทคือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาภายหลังการเกิด บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่เกิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536… Read More ทายาทโดยธรรม หกลำดับ (1) ผู้สืบสันดาน และ (2) บิดามารดา