การกำหนดวินัย โทษทางวินัย และการใช้มาตรการทางวินัยต่อลูกจ้าง ตอนที่ 9
แนวคิดในการลงโทษ
- โทษทางวินัยบางประเภทไม่เหมาะสำหรับลูกจ้างบางคน เช่น ลูกจ้างได้ค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งน้อยมากอยู่แล้ว หากตัดหรือลดค่าจ้างลงอีก อาจจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และก็จะเดือดร้อนแก่
การดำรงชีพของลูกจ้างและครอบครัวมาก ลูกจ้างนั้นอาจจำต้องกระทำ
ความผิดอย่างอื่นซ้ำซ้อนร้ายแรงต่อไป เช่น ลักทรัพย์ของนายจ้างหรือ
ขาดงานไปรับจ้างพิเศษที่อื่น เป็นต้น - โทษทางวินัยที่น่าจะลงโทษแก่ลูกจ้างมากที่สุดคือ การตัดหรือลดสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างนั้นลง แต่สิทธิประโยชน์ที่จะตัดหรือลดลงนี้จักต้องไม่ใช่สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หากแต่เป็นสิทธิประโยชน์ที่นายจ้างได้ให้แก่ลูกจ้างเอง เช่น เงินโบนัส บำเหน็จ วันหยุดส่วนที่เกินจากกฎหมาย การได้อยู่ในหอพัก การซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาพิเศษ เป็นต้น สิทธิประโยชน์ดังกล่าวนี้ นายจ้างย่อมมีอำนาจออกระเบียบกำหนดการตัดหรือลดลงได้ตามความเหมาะสม
- โทษตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้าง หรือพักงานเป็นโทษที่ไม่พึงนำมาใช้ เพราะไม่มีกฎหมายใดรับรองไว้โดยตรง และไม่มีผลในทางที่จะสร้างความเกรงกลัวหรือขยาดในการกระทำผิดให้แก่ลูกจ้างมากนัก ลูกจ้าง
บางคนเมื่อถูกลดค่าจ้างก็เริ่มเปลี่ยนแนวชีวิต เปลี่ยนทัศนคติในการทำงานใหม่ กลายเป็นคนชอบฝ่าฝืนวินัยมากยิ่งขึ้น
ตามมาตรฐานความรับผิดชอบทางสังคม 8000 (Social Accountability 8000) หมวด 4 ข้อกำหนดความรับผิดชอบทางสังคม ข้อ 8.2 กำหนดว่า บริษัทต้องรับรองว่าการหักค่าจ้างมิได้กระทำเพื่อ
วัตถุประสงค์ในการลงโทษทางวินัย (The company shall ensure that deductions from wages are not made for disciplinary purposes) - โทษทางวินัยบางอย่างลูกจ้างยังไม่พึงใจ แม้โทษบางอย่างนายจ้างเห็นว่าเบาแต่ลูกจ้างอาจประสงค์ให้ลงโทษหนักกว่านั้น เช่น ลูกจ้างบางคนอาจประสงค์ไห้นายจ้างลงโทษพักงานแทนการตัดค่าจ้าง บางคนอาจขอให้นายจ้างเลิกจ้างแทนการพักงาน เป็นตัน
