การกำหนดวินัย โทษทางวินัย และการใช้มาตรการทางวินัยต่อลูกจ้าง ตอนที่ 8
โทษทางวินัย
โทษ หมายถึง ความไม่ดี, ความชั่ว, ความผิด ผลแห่งความผิดที่จะต้องรับ, ผลร้าย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
โทษ จึงเป็นสภาพบังคับที่จำต้องกำหนดไว้ควบดูไปกับวินัยในการทำงาน
ในแง่ของกฎหมายแรงงาน การจ้างงานเป็นการทำสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยปกติทั่วไปคู่สัญญาไม่มีอำนาจลงโทษกันได้ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา มาตรการที่จะใช้เพื่อตอบโต้กับฝ่ายผิดสัญญาได้ก็คือ การเลิกจ้าง ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 578, มาตรา 57
นอกจากนั้นนายจ้างยังอาจเลิกสัญญาได้ ทันที (ไล่ออก) ถ้าลูกจ้างกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 583
(เช่น จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง เป็นตัน)
อย่างไรก็ตาม กฎหมายแรงานบางฉบับก็ได้กล่าวถึงการลงโทษทางวินัยไว้ด้วย เช่น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 บัญญัติให้ นายจ้างมีอำนาจกำหนด “โทษทางวินัย” ไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 ได้กล่าวถึงการลงโทษกรรมการลูกจ้างไว้ว่า นายจ้างจักต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงานก่อนจึงจะลงโทษทางวินัยแก่กรรมการลูกจ้างได้ และมาตรา 95 ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานว่าลูกจ้างผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจในการลงโทษ จะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ เป็นตัน
ประเภทของโทษทางวินัย
โทษทางวินัยที่กำหนดไว้และใช้ลงโทษลูกจ้างมีหลายสถาน เช่น
ไม่ให้ทำงานกับนายจ้างนั้นตลอดไป (ขาดความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง) ซึ่งมีถ้อยคำที่ใช้เรียกโทษประเภทนี้หลายคำ เช่น ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ให้ลาออก เลิกจ้าง เลิกสัญญา เป็นตัน (ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยา คำที่นายจ้างควรจะใช้มากที่สุด คือ “เลิกสัญญา”)
ไม่ให้ทำงานชั่วคราว หรือที่เรียกว่า “พักงาน” โดยไม่จ่ายค่าจ้างให้เลยหรือจ่ายให้บางส่วน
ไม่ให้ค่าจ้างเต็ม หรือที่เรียกว่า “ตัดค่าจ้าง” ซึ่งอาจตัดเพียงบางส่วนคราวเดียวหรือบางส่วนแต่หลายคราว
ลดค่าจ้างลง หรือที่เรียกว่า “ลดขั้นเงินเดือน” หรือ “ลดค่าจ้าง” ซึ่งอาจเป็นการลดโดยมีกำหนดเวลาสั้นๆ เช่น 3 เดือน หรือลดตลอดไป
ตักเตือนเป็นหนังสือ
ตักเตือนด้วยวาจา เป็นตัน
