เป็นกรณีที่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกได้ตายก่อนเจ้ามรดก
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1642 การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม
หาก ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรมนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป (1) เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1699 ถ้าพินัยกรรม หรือข้อกำหนดในพินัยกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วยประการใด ๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมหรือได้แก่แผ่นดิน แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2492
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมมีความว่า เมื่อตนถึงแก่ความตายแล้วขอยกทรัพย์สมบัติให้แก่ ร. และส. โดยให้คนละครึ่งเท่าๆ กันผู้อื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์ของตนไม่ได้ ปรากฏว่า ร. ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกให้ ร. จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบกับมาตรา 1620 วรรคสอง คือเมื่อเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม ก็ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก
การรับมรดกแทนที่มาตรา 1642 ให้ใช้แต่เฉพาะในระหว่างทายาทโดยธรรม ไม่รวมถึงผู้รับพินัยกรรม
ทายาทในลำดับใด ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(6) ลุง ป้า น้า อา
ซึ่งยังมีชีวิตอยู่และมีสิทธิได้รับมรดก แต่ได้ตายเสียก่อนเจ้ามรดก ผู้สืบสันดานของผู้นั้น มีสิทธิได้รับใรดกแทนมี่ในส่วนมรดกของผู้นั้น
ถ้ามีผู้รับหลายคนก็แบ่งส่วนคนละเท่าๆกัน
ถ้าผู้สืบสันดานตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของผู้นั้นก็รับมรดกแทนที่ต่อไปอีก จนสุดสาย
ผู้บุพการีไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2494
ย่าของโจทก์เป็นป้าผู้ตายเมื่อผู้ตายไม่มีทายาทในอันดับ 1 ถึง 5 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่แล้ว ย่าของโจทก์ผู้เป็นป้าผู้ตายก็ย่อมเป็นทายาท(อันดับ 6) มีสิทธิได้รับมรดกผู้ตาย และเมื่อย่าของโจทก์และบิดาของโจทก์ตายแล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกแทนที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1639
การรับมรดกแทนที่ได้เฉพาะ ผู้สืบสันดานโดยตรง บุตรบุญธรรมรับแทนที่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2497
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้ไปแจ้งทะเบียนสำมะโนครัวว่าเป็นบุตรและใช้นามสกุลของบิดา และบิดาได้อุปการะบุตรมาอันเป็นพฤติการณ์ที่รู้อยู่กันทั่วไปดังนี้ได้ชื่อว่าบิดาได้รับรองแล้ว และถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานของบิดาและมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้
แม้คดีจะขาดอายุความมรดกแล้วแต่ทายาททำสัญญาประนีประนอมแบ่งทรัพย์มรดกแก่กัน สัญญานั้นย่อมใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป ว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์ เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์แต่ไม่สบาย จึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่า บิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
แต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)
แต่บุตร ของบุตรบุญธรรม สามารถรับมรดกแทนที่ได้ ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อนเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2494
บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่ ก.ม.ให้ไว้ตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 1639
