แนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

วันนี้อยากจะมาแนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เพราะในการที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทนายความเราต้องเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาก่อนนะครับ

เนติบัณฑิตยสภาจะมีสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญสมาชิกสามัญหมายถึงผู้ที่สอบเนติบัณฑิตได้แล้วส่วนผู้ที่สมัครวิสามัญสมาชิกแบ่งเป็น 2 กลุ่มนะครับ

กลุ่มแรกคือ นักศึกษาที่จบการศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย คือ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เมื่อ 30 ปีที่แล้วมีมหาวิทยาลัยเพียง 5 มหาวิทยาลัยนี้ ที่สอนเกี่ยวกับนิติศาสตร์ภายหลังมีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นที่สอนเกี่ยวกับนิติศาสตร์ แต่ข้อบังคับของเนติบัณฑิตยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง คนที่จบ 5 มหาวิทยาลัยนี้สามารถได้ใบอนุญาตเป็นทนายความเร็วกว่ามหาวิทยาลัยอื่นได้ประมาณ 6 เดือนครับ

กลุ่มนี้จากจบการศึกษาสามารถขอใบจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปขึ้นทะเบียนได้เลยสำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ใช้เอกสาร มสธ 15

กลุ่มที่ 2 คือผู้ที่ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมวิชาว่าความ จากสภาทนายความ ซึ่งก็ต้องเป็น คู่ที่จบอนุปริญญาด้านนิติศาสตร์หรือ ผู้ที่จบนิติศาสตร์บัณฑิต

หลังจากจบการศึกษาแล้วหรือหลังจากได้รับใบประกาศนียบัตรจากสภาทนายความแล้วให้เตรียมเอกสารและเดินทางไปที่เนติบัณฑิตยสภาด้วยตนเอง

สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักสามารถเดินทางโดยรถแท็กซี่ไปที่เนติบัณฑิตได้เลยหรือจะไปรถไฟฟ้าที่สถานีรถไฟฟ้า บางหว้าแล้วต่อรถแท็กซี่ไปจะสะดวกที่สุดครับ

เอกสารของการสมัครวิสามัญสมาชิกต้องมีสามัญสมาชิกที่มีที่เป็นสามัญสมาชิกแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี 2 ท่านลงชื่อในใบสมัครของเราพูดง่ายๆคือคนที่เรียนจบแล้วเป็น เนติบัณฑิตไทยครบ 10 ปี

ผมไม่รู้จักใครเลยก็ใช้วิธีไปที่เนติบัณฑิตแล้วขอเข้าพบอาจารย์ผู้สอนที่เนติบัณฑิตแล้วให้อาจารย์ลงชื่อให้ 2 ท่านอาจารย์ท่านก็ใจดีถามเรานิดหน่อยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เราจบมาและถามว่าเรามาจากจังหวัดไหนท่านก็ลงชื่อให้ ที่จริงเจ้าหน้าที่ที่ฝ่ายรับสมัครจะถามว่ามีใครเซ็นให้หรือยังไม่ใช่มีแค่เราที่ไม่มีใครเซ็นให้หลายคนก็เดินไปให้อาจารย์เซ็นผมก็เดินตามพวกเขาไปเข้าแถวหาอาจารย์ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์อยู่ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือ อยู่ที่ห้องพักอาจารย์ชั้นบนสามารถไปขอให้ท่านเซ็นได้

เพื่อนบางคนทำงานที่ศาลอยู่แล้วก็ขอให้ท่านผู้พิพากษาลงชื่อให้ก็ได้

รูปถ่ายที่เราไปให้มั่นใจว่าเป็นรูปถ่าย 2 นิ้วถ่ายโดยใช้ชุดครุยของมหาวิทยาลัยของเราที่จบการศึกษามา จากนั้นไปเสียค่าธรรมเนียมแล้วเป็นอันเสร็จพิธีครับ

ใครที่ไม่เคยมาเนติบัณฑิตอยากจะลองเดินเล่นรอบๆเนติบัณฑิตสักหน่อยที่โรงอาหารมีร้านอาหารอร่อยกินอาหารก่อนกลับก็ไม่ผิดกติกา

หลังจากนั้นจะมีการประชุมของเนติบัณฑิตโดยเสนอชื่อผู้ที่สมัครเป็นวิสามัญสมาชิกการประชุมเป็นรอบๆโดยประมาณแล้วใช้เวลา 4-6 เดือนกว่าเราจะมีรายชื่อปรากฏว่าเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภา

ใบรับรองจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์มาที่อยู่ที่เราให้ไว้ เราสามารถนำใบรับรอง ไปประกอบกับใบสมัครเป็นสมาชิกไปสมัครขึ้นทะเบียนทนายความได้

ตามระเบียบของเนติบัณฑิตยสภาสามัญสมาชิกสามารถสวมครุยของนิติบัณฑิตได้พูดกันเล่นๆว่าถ้าสมัครวิสามัญสมาชิกแล้วสอบตั๋วทนายไม่ผ่านก็ไปตัดครุยมาแขวนไว้ดูที่หน้าบ้านได้เลย

ส่วนผมยังไม่ตัดครุยเนติบัณฑิต จนกว่าจะสอบผ่านครับถือเคล็ดเป็นการกดดันตัวเองว่าถ้าอยากได้ครุยก็ให้สอบให้ได้ก่อน

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพทนายความคงจะแปลกน่าดูที่ต้องสวมครุยเกือบทุกวัน ผิดกับวิชาชีพอื่นที่ไม่เป็นวิชาชีพของนักกฎหมาย ที่ตัดครุยเฉพาะตอนรับปริญญาบางคนเช่าครุยแล้วเอาไปคืนที่ร้านบางคนตัดชุดครุยเสร็จก็ใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าใส่ไว้หลายสิบปีไม่เคยใส่เลย

โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเห็นว่าจบมหาวิทยาลัยไหนก็เหมือนกัน เพราะการรับใช้ประชาชนคือปลายทางที่เราเล่าเรียน

เราจบมหาวิทยาลัยใหญ่โตที่มีชื่อเสียงแต่เราไม่ได้ใช้วิชาความรู้เราในการช่วยเหลือผู้อื่นสังคมเราก็ไม่ใช่สังคมที่ดีกว่าเดิม

ผิดกับคนที่จบมหาวิทยาลัยเปิดอาจจะสอบตกบ้าง เป็นนักสะสมดาว ตามประสาคนที่เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยแต่เอาความรู้มารับใช้ผู้คนมารับใช้สังคมช่วยคนที่ด้อยโอกาสทำให้สังคมที่เราอยู่เป็นสังคมที่ดีกว่าเดิมผมว่าพี่จะมีประโยชน์ดีกว่าอีก

เพราะเมื่อทำงานจะไม่มีใครถามว่าเราจบจากที่ไหนแต่มีคนรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร

Photo by Anni Roenkae on Pexels.com

One thought on “แนะแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการสมัคร วิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

Leave a Reply