วิธีการสอบเพื่อได้ใบอนุญาตเป็นทนายความ

สวัสดีครับเพื่อนนักศึกษานิติศาสตร์ทุกท่านวันนี้ผมจะมาอธิบายถึงวิธีการสอบเพื่อได้ใบอนุญาตเป็นทนายความนะครับ

ก่อนอื่นการสอบได้ใบอนุญาตทนายความแบ่งออกเป็น 2 แบบ

แบบแรกเรียกว่าการสอบแบบรุ่น หรือ ตั๋วรุ่น
แบบที่ 2 คือการสอบแบบผู้ฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี หรือตั๋วปีครับ

ก็อยากจะบอกว่าเราสามารถพูดกันเอง เป็นชื่อเล่น ว่าใบอนุญาตเป็นทนายความคือ ตั๋ว นะครับแต่ในการพูดอย่างเป็นทางการ เราจะใช้ว่าใบอนุญาตนะครับ ณ ที่นี้ผมจะใช้ภาษาให้ถูกเลยนะครับ

ก่อนที่จะสอบอะไรนะครับผมแนะนำอย่างนี้เลยทันทีที่รู้ว่าจบการศึกษาขอให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 5 มหาวิทยาลัย ดังกล่าวต่อไปนี้นำใบรับรองการจบการศึกษา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท ได้แก่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำหรับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารมสธ 15 ครับ

เพราะการที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทนายความต้องขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภาก่อนนักศึกษาที่มาจบจากการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นนอกเหนือจาก 5 มหาวิทยาลัยนี้เมื่อจบการศึกษาแล้วต้องได้ประกาศนียบัตรจากสภาทนายความก่อ ถึงจะนำใบประกาศนียบัตรไปจดทะเบียนวิสามัญสมาชิกได้กระบวนการขึ้นทะเบียนวิสามัญสมาชิกใช้เวลาประมาณ 6 เดือนครับ

สำหรับ 5 มหาวิทยาลัยที่ขึ้นทะเบียนแล้วก็สามารถตัดสินใจสอบเป็นทนายความได้ 2 แบบอย่างที่บอกไว้แล้วผมจะเริ่มอธิบายจากการสอบแบบรุ่นก่อนนะครับ

การสอบแบบรุ่น แบ่งออกเป็น 2 ช่วงนะครับคือ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเราต้องผ่านภาคทฤษฎีก่อนหลังจากนั้นเราจะไปฝึกงานในสำนักงานทนายความ 6 เดือนและสอบภาคปฏิบัติอีกครั้งหนึ่ง

ในแต่ละปีสภาทนายความจะเปิดสอบแบบรุ่น 2-3 ครั้งเราก็ไปสมัครใช้เอกสารการสำเร็จการศึกษาในการสมัคร ทุกวันนี้ไม่ต้องไปสมัครเองที่สภาทนายความที่บางเขนแล้ว สามารถสมัครทางไปรษณีย์ได้การรับบัตรประจำตัวสอบก็สามารถมอบอำนาจให้คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไปรับแทนได้ผู้เขียนเองก็มอบอำนาจให้น้องที่อยู่กทม รับให้เช่นกัน

จากนั้นสภาทนายจะนัดผู้สมัครสอบ มาอบรมที่ สภาทนายความการอบรมจะกินเวลา 2-3 สัปดาห์จะไปหรือไม่ไปก็ได้นะครับไม่มีการเช็คชื่อ เราสามารถซื้อชีท การบรรยายจากสภาทนายความได้ ผมอบรมในรุ่นที่ 50 ผมซื้อชีท 800 บาทครับจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้นะครับ

สำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ผมแนะนำให้ไปติว กับสถาบันติวจะดีกว่าครับหากสนใจสอบถามว่าสถาบันไหนดีก็สอบถามมาได้ครับ ไม่ได้โฆษณาให้ใคร อาจารย์ที่ผมเคารพอยู่ 2 สถาบันที่ผมติวอยู่ด้วยครับ ค่าใช้จ่ายแพงหน่อย แต่ดีกว่าเราลองผิดลองถูกเอง หรือเราสอบตกหลายๆครั้งครับ

เคยเจอเพื่อนนักศึกษาที่สนามสอบ บอกสอบตกครั้งที่ 5 แล้วซึ่งเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเสียเวลาเยอะมากการติว ก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีทุนทรัพย์

หรือจะเลือกอ่านหนังสือเอง ทางสภาทนายความมีหนังสือตัวอย่างข้อสอบเก่าเล่มสีน้ำเงินนะครับ รู้จักเพื่อนบางคนที่สอบผ่านด้วยการอ่านหนังสือเองครับ

แต่ก็ให้จำไว้นะครับว่าหนังสือเป็นข้อสอบเก่ากฎหมายเปลี่ยนไปเยอะมาก

สอบทฤษฎีจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ในข้อสอบคืออัตนัยเป็นข้อเขียน และปรนัยเป็นกากบาท

ข้อเขียนอัตนัยจะเป็นการตอบข้อสอบโดยการจะมีตัวอย่างข้อเท็จจริงของคดีความมาให้ให้เราทำตามโจทย์ที่สภาทนายความกำหนดเช่น ฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญา เขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม เขียนหนังสือร้องทุกข์ คำร้อง คําขอ คําแถลง เขียนสัญญา เขียนพินัยกรรม เขียนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เขียนเกี่ยวกับคดีไม่มีข้อพิพาท

ในภาคทฤษฎีเขียนคำตอบข้อสอบเราจะเขียนใส่กระดาษมีเส้นธรรมดาครับแต่ในภาคปฏิบัติจะเขียนใส่แบบฟอร์มศาล

บางครั้งเราติวฟ้องแพ่งไป แต่ข้อสอบให้เขียนเกี่ยวกับคดีไม่มีข้อพิพาท เดินจากห้องสอบอาจจะมีอาการเมาหมัดได้

ก็นั่นแหละครับข้อสอบยากไม่พอแถมยังจะออกอะไรก็ได้ดังนั้นเราต้องเตรียมไปให้พร้อม

ข้อสอบข้อเขียนจะมีการถามตอบ เกี่ยวกับมรรยาททนายความด้วย เราต้องท่องมรรยาททนายความไป แล้วตอบแบบข้อสอบปริญญาตรีที่เราเคยสอบกันนะครับ

ปรนัย 20 คะแนนผู้เขียนเองว่ายากไม่เคย ทำได้เกิน 15 คะแนน เพราะว่าคำถามถามกว้างมากเกี่ยวกับพระราชบัญญัติทนายความ โครงสร้างสภาทนายความ เกี่ยวกับการดำเนินคดีมรรยาททนายความ วิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพิเศษ ศาลชํานัญพิเศษ

มีผู้รู้ได้บอกว่ามีหัวข้อที่น่าจะออกข้อสอบได้ 80 หัวข้อส่วนตัวผมเองคิดว่าการอ่านข้อสอบเก่าจะทำให้เราสับสนมากกว่าเพราะกฎหมายเปลี่ยนตลอด

ข้อสอบ 100 คะแนนบัตรผ่านที่ 50 คะแนนครับได้ 50 คะแนนถือว่าผ่านต่ำกว่า 50 คะแนนต้องสอบใหม่สมัยหน้าก็รออีก 6 เดือนครับ

หลังจาก 1 เดือนจะมี การประกาศผล ว่าใครสอบผ่านภาคทฤษฎี หลังจากนั้นให้เรานำเอกสารไปให้ทนายความที่มีใบอนุญาตมากกว่า 7 ปีลงชื่อให้ว่าเราฝึกงานกับทนายความคนนี้เป็นเวลา 6 เดือน อาจจะเป็นพี่ทนายความที่ไม่อยู่ในสำนักงานก็ได้ครับยึดที่ใบอนุญาตเป็นหลัก

ในทางปฏิบัติแล้วแต่เราจะคุยกับพี่ทนายความที่เซ็นชื่อให้ครับ ว่าเราจะไปฝึกงานแบบไหนอย่างไร

หลังจากนั้นนำเอกสารที่เซ็นมาลงทะเบียนสอบภาคปฏิบัติก็ให้เรารอ 6 เดือนหาความรู้เกี่ยวกับการทำเอกสารทางกฎหมายหลังจากนั้นก็สอบภาคปฏิบัติครับ

ข้อสอบภาคปฏิบัติก็คล้ายภาคทฤษฎี คือมี อัตนัย ปรนัย แต่จะออกเกี่ยวกับกฎหมายคดีชำนัญพิเศษ หรือเกี่ยวกับคดีที่มีความซับซ้อนขึ้น

ภาคปฏิบัตินี้เราต้องใช้แบบฟอร์มศาลซึ่งเราต้องใช้แบบฟอร์มศาลให้เป็นเขียน ให้ถูก ฝึกเขียนบ่อยๆก็ทำได้ครับไม่มีอะไรเกินความสามารถ

หลังจากประกาศผลสอบภาคปฏิบัติแล้วเราก็ต้องลงทะเบียนสอบปากเปล่านะครับ

สอบปากเปล่าจะเป็นการไปนั่งสอบทนายความของสภาทนายความจะมีคำถามถามตอบ เช่น ผมเจอคำถามเกี่ยวกับหลักกฎหมายเกี่ยวกับทนาย ขอแรงก็ต้องอธิบายว่ากฎหมายเกี่ยวกับทนายขอแรงเป็นอย่างไรมีเกณฑ์การให้ ค่าวิชาชีพทนายความอย่างไร

จะรู้ผลวันนั้นเลยว่าเราผ่านหรือไม่ผ่านใครที่สอบกับทนายความ 2 คน ไม่ได้ต้องเข้าห้องสอบพิเศษ มีคำพูดเรียกตลกๆว่า “ห้องเย็น” ว่ากันว่าคนที่สอบไม่ผ่านจาก 2,000 คนอาจจะไม่ผ่านแค่ คนสองคน

วันนั้นที่เราสอบปากเปล่าเราจะได้ใบนัดเพื่อเข้าอบรมจริยธรรมและรับใบประกาศเลย อบรมจริยธรรมต้องไปต้องเข้าอบรมไม่งั้นสอบไม่ผ่าน ถือว่าไม่มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต

ถึงขั้นตอนนี้สั่งตัดครุยทนายความ หรือครุยเนติบัณฑิตไว้รอเลยครับ เพราะกว่าจะคุรยตัด เสร็จก็ 3-4 เดือน

วันที่อบรมจริยธรรมและรับใบประกาศส่วนใหญ่จะเป็นวันเดียวกันสภาทนายความจะมาตั้งโต๊ะเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัยที่สมัครขึ้นทะเบียนเป็นวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาแล้วสามารถจดทะเบียนเป็นทนายความได้

การจดทะเบียนเป็นทนายความอย่างเดียวกินเวลา 4-5 เดือนเลยทีเดียวถ้าใครที่มีกำลังทรัพย์ให้แนะแนะนำให้สมัครแบบตลอดชีพเพราะไม่ต้องไปต่อใบอนุญาตบ่อยๆยิ่งคนที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วการเดินทางไปกรุงเทพฯแต่ละครั้งก็ใช้ค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย

ในวันขึ้นทะเบียนต้องเตรียมเอกสารไปให้ครบอย่าลืมให้ทนายความที่มีใบอนุญาตไม่ต่ำกว่า 10 ปีรับรองความประพฤติ

สำหรับคนที่หาทนายความที่มีใบอนุญาตไม่ต่ำกว่า 10 ปีไม่ได้สมัยที่ผมไปขึ้นทะเบียนจะมีที่ทนายความที่มีใบอนุญาตและต่ำกว่า 10 ปีมานั่งอยู่ที่โต๊ะแล้วให้พวกเราไปให้พี่คนนั้นเซ็นได้ครับแต่ทางที่ดีเราก็น่าที่จะหามาเพราะว่าการทำวิชาชีพทนายความสอนให้เรารู้จักทำงานกับรุ่นที่หรือผู้อาวุโส

ในวันรับใบประกาศผมเองก็ไม่นึกมาก่อน บรรยากาศเหมือนวันรับปริญญาเลย มีคนถือลูกโป่งถือดอกไม้มีพ่อแม่เช่ารถตู้จากต่างจังหวัด ใส่ชุดผ้าไหม มานั่งรอถ่ายรูปตอนเย็น กับลูกๆเป็นบรรยากาศที่น่ารักครับ

ส่วนตัวผมเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปคนเดียวก็ถ่ายรูปเซลฟี่ก่อนกลับบ้านแบบเขินๆ แล้วนั่งรถทัวร์กลับบ้านครับ

สำหรับการสอบแบบผู้ฝึกงานในสำนักงาน 1 ปี ทางสภาทนายความให้ผู้ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ฝึกงานในสำนักงาน 1 ปีไปรับใบสมัครที่สภาทนายความนะครับ สมัยผมให้คนอื่นรับให้ได้โดยให้หมายเลขประชาชน 13 หลักไปแต่ได้ยินว่าช่วงหลังต้องไปรับเองยังไงให้ติดต่อสภาทนายความจะดีกว่านะครับนโยบายเปลี่ยนแล้ว

เมื่อได้ใบสมัครแล้วเราก็มาให้พี่ที่สำนักงานทนายความที่เราจะฝึกงานด้วย ลงชื่อให้หลังจากนั้นส่งเอกสารนั้นไปที่สภาทนายความสภาทนายความจะให้ใบนัดเรากลับมาเพื่อเราจะไปที่สภาทนายความ เพื่อขึ้นทะเบียนว่าเราสอบว่าเราฝึกงานในสำนักงานครบ 1 ปีแล้ว การฝึกงานในสำนักงานทนายความนั้นสอบครั้งเดียวเลยครับ คือสอบหลังจากฝึกงานแล้ว

ฟังดูก็สะดวกดีไม่ต้องเข้ามาสอบหลายรอบแต่เห็นตัวเลขการสอบแล้วสมัคร 6,000 คนผ่าน 600 คนสมัคร 8,000 คนผ่าน 800 คนอัตราการสอบผ่าน 10% เมื่อเทียบกับการสอบแบบรุ่นอัตราการสอบผ่านบางรุ่น 45 เปอร์เซ็นต์ครับบอกได้เลยหินพอสมควร

แต่ก็มียอดมนุษย์หลายคนที่สอบผ่านทั้ง 2 แบบทั้งแบบรุ่นและแบบผู้ฝึกในสำนักงานรุ่นพี่ที่จบสุโขทัยธรรมาธิราชด้วยกันเขาก็สอบผ่านทั้ง 2 แบบครับ

หลังจากสอบแบบผู้ฝึกงานในสำนักงาน 1 ปีแล้วก็จะเข้าสู่ระบบเดียวกัน

ไปอบรมใช้ทำวันเดียวกันรับใบประกาศวันเดียวกันส่วนตัวแล้วผู้เขียนไว้รู้ว่าคนที่สอบผ่าน 2 ใบคือแบบรุ่นและแบบปีจะได้ใบประกาศ 2 ใบกลับบ้านในการมอบครั้งเดียวไหม แต่ก็นั่นแหละครับถ้าผ่านแบบรุ่นแล้วตัวผู้เขียนเองก็ไม่คิดจะไปสอบแบบดีเพราะค่าใช้จ่ายเยอะในการไปกรุงเทพฯแต่ละครั้ง

สำหรับเพื่อนนักศึกษาที่ไม่ได้จบจาก 5 มหาวิทยาลัยอย่าเพิ่งกลับบ้านต่างจังหวัดนะครับ

วันจันทร์ให้นำใบประกาศนียบัตรไปที่เนติบัณฑิตยสภา เพื่อสมัครวิสามัญสมาชิก หลังจากเนติบัณฑิตประกาศรายชื่อวิสามัญสมาชิกแล้วให้เราขอใบรับรองการเป็นสมาชิกของเนติบัณฑิตยสภา สามารถขอออนไลน์ได้เลย ทุกวันนี้บัณฑิตทันสมัยมาก จะส่งมาให้เราที่บ้านทางไปรษณีย์ได้เลย

จากนั้นอีก 3-4 เดือนติดต่อขอรับใบขอรับบัตรสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภาได้สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปรับเองได้ด้วยครับ

หลังจากนั้นก็นำเอกสารเดินทางไปที่สภาทนายความเพื่อขึ้นทะเบียนได้นะครับทางสภาทนายความมีสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความ และ มีฌาปนกิจสงเคราะห์ของทนายความด้วย หากเราสนใจให้ติดต่อกับหน่วยงานทั้ง 2 หน่วยงานนี้ก่อนที่จะไปที่สภา เตรียมเงินและใบสมัครไปให้พร้อม ผมถือว่าดีเป็นสวัสดิการที่ดีครับอยากให้เราสมัครกันเยอะๆจะได้ช่วยเหลือเพื่อนทนายความ ด้วยกัน

ในระหว่างที่รอใบอนุญาตหลายคนที่มีอาชีพเกี่ยวกับกฎหมายอยู่แล้วหรือหลายคนที่เป็นเสมียนทนายอยู่ก็ทำงานหาความรู้โพสต์ข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์คเรื่อยๆครับเธอเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ติดตามอย่างที่ผมทำอยู่นี้อาจจะมีคนมาปรึกษากฎหมายและเป็นลูกความได้ครับ

เรื่องชุดครุยมีหลายราคามาก 3,000 ถึง 6,000 ก็มี ตัดที่กรุงเทพฯหรือตัด ที่ต่างจังหวัดก็มีครับมี แถบให้เลือกทั้งแถบสีทองและแถบสีดำผมก็สงสัยทำไมมีแถบสีทองกับแถบสีดำพอไปช่วยงานที่ศาลก็เห็นทนายความอวุโสหลายคนใช้คุยมาหลายสิบปี จนแถบสีทองเป็นแถบสีซีดผมเดาว่าคนที่แถบสีดำก็อยากจะให้ดูเหมือนแถบสีที่ซีด ครับจะได้ดูว่าเป็นคนที่มีวัยวุฒิในการประกอบวิชาชีพแต่ผมเลือกแถบสีทองก็คิดว่าถ้าสอบเนติบัณฑิตผ่านจะได้ไม่ต้องซื้อแถบใหม่อีก

สำหรับคนที่คิดว่าจะตัดสูทดีไหมวันที่รับใบประกาศของสภาทนายผมแนะนำให้ตัดไปเลยครับถ้ายังไม่มีก็จะได้ใช้แน่นอนเพราะชุดครุยของเนติบัณฑิตหรือครุยทนายความต้องสวมทับเสื้อสูทอีกครั้งหนึ่งในการว่าความในศาลครับดูสุภาพใครเห็นใครก็นิยม

สำหรับคนที่ต้องการสอบถามข้อมูลอื่นนอกจากนี้สามารถสอบถามมาได้ครับยินดีให้ความรู้ช่วยเหลือกันอยู่แล้วครับขอบคุณครับสวัสดีครับ

Photo by Pixabay on Pexels.com

Leave a Reply