ค่าชดเชย

ค่าชดเชย

เมื่อนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง กับ ลูกจ้าง หรือ ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด นายจ้างต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ให้ลูกจ้าง เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ระหว่างหางานใหม่ โดยลูกจ้างไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายใดๆเงินเงินก้อนนี้เรียกว่า ค่าชดเชย หรือ ค่าตกงาน

พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตราที่ 118 บัญญัติว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่าย30 วัน

2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่าย 90 วัน

3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่าย 180 วัน

4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่าย 240 วัน

5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จ่าย 300 วัน

การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้าง ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ แต่ไม่ใช้บังคับ สำหรับลูกจ้างที่มี กำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน และ มีการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การเลิกจ้าง หมายถึง การที่นายจ้างแสดงเจตนาฝ่ายเดียว ยกเลิกสัญญาจ้าง กับ ลูกจ้างซึ่งมีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ทันทีที่คำบอกเลิกจ้างไปถึงลูกจ้าง ในเมื่อบอกเลิกจ้างแล้ว ถอนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 ผู้มีอำนาจบอกเลิกจ้าง ต้องเป็นนายจ้าง หรือ ผู้มีอำนาจเลิกจ้างเท่านั้น เช่น กรรมการผู้จัดการ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อ กระทำการแทน บริษัท ถือเป็นนายจ้างมีอำนาจเลิกจ้างได้

ผู้จัดการโรงงาน กรรมการบริษัท ไม่ใช่นายจ้าง ไม่มีอำนาจเลิกจ้าง

แต่ผู้จัดการฝ่ายธุรการ และ บุคคลเป็นผู้รับลูกจ้างเข้าทำงาน และ เป็นผู้ทำสัญญาจ้าง แทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างบกพร่อง ต่อหน้าที่ ก็เรียกลูกจ้าง ไปตำหนิ เป็น เป็นตัวเชิด ของนายจ้างบอกเลิกจ้างได้

ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า การเลิกจ้างต้องทําเป็นหนังสือเท่านั้น การเลิกจ้างด้วยวาจา ก็ย่อมได้

องค์ประกอบของการเลิกจ้าง คือ การกระทำใด ที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้

/// ข้อสังเกตต่อไปว่า ลูกจ้างลาออกหรือ ไม่มาทำงานเองไม่ใช่การเลิกจ้าง ถ้าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจไม่ว่าจะลาออกด้วยวาจา หรือ ทำเป็นหนังสือไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง การลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว แม้ลูกจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามกฎหมาย นายจ้างไม่ได้อนุมัติ การเลิกจ้างมีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ทันที

ในทางปฏิบัติ นายจ้างหรือ แผนกบุคคลของบริษัท ก็รู้กฎหมายข้อนี้ดี ก็จะไม่บอกเลิกจ้างไปตรงๆ แต่อาจจะขอให้ลูกจ้าง เขียนใบลาออกเอง โดยอ้างว่าถ้าไม่เขียน จะไล่ออก ทำให้เสียประวัติ ลูกจ้างก็ยอมเขียนใบลาออกเสียโดยดี ก็ไม่สามารถได้รับสิทธินี้

แต่ก็ว่าไปถ้านายจ้างพูดขนาดนั้น คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก หลายคนก็ไม่ทน ออกไปหางานใหม่ เสียจะดีกว่า มานั่งเสียสุขภาพจิต

แต่ในองค์กรใหญ่ๆ ที่นายจ้าง คือ บริษัทใหญ่ๆ แต่ละสาขามีผู้จัดการ ต่างจากบริษัทเล็กๆพี่เจอกับนายจ้างทุกวัน

*** เพราะการลาออกของลูกจ้าง เป็นการแสดงเจตนาว่า ไม่ติดใจเรียกร้อง ค่าชดเชย และ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายอะไร***

ถ้าลูกจ้างมีความประพฤติดี ทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ไม่มีเหตุใดที่นายจ้างจะไม่จ้างลูกจ้างคนนั้น แต่ถ้าลูกจ้างนั้นทำตรงกันข้าม นายจ้างสามารถหาเหตุในการเลิกจ้างได้

กระบวนการฟ้องร้องใช้เวลา และข้อกฏหมายที่ค่อนข้างซับซ้อน นายจ้างอาจจะใช้วิธียื่นข้อเสนอ จะจ่ายเงินสดให้ตอนนี้เลย จำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของสิทธิที่ลูกจ้างเรียกร้อง

บางคนก็ยอมความไป บางคนก็ต่อสู้ต่อ

เป็นกำลังใจลูกจ้าง แรงงาน ผู้ใช้แรงงานทุกคน

เป็นลูกจ้างแท้จริงแสนลำบาก ว่ากันว่าพนักงานส่งพิซซ่า ค่าแรงส่งพิซซ่าทั้งวัน ยังไม่พอสั่งพิซซ่าที่ตัวเองใส่กระเป๋าไปส่ง

สู้กันต่อไป กฏหมายอยู่ข้างผู้ที่รักษากฏหมายครับ

Photo by Pixabay on Pexels.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s