การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

รูปแบบ การทำงานบริการสังคม มี 2 รูปแบบ คือ

  1. การทำงานบริการสังคมแบบรายบุคคล หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดแต่ละคนไปทำงานบริการสังคมตามหน่วยงานภาคีตามความรู้ ความสามารถ หรือการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน หรือชุมชน
  2. การทำงานบริการสังคมแบบกลุ่ม หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งจะช่วยฝึกทักษะด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดีขึ้น หรือเป็นการทำงานตามความต้องการของชุมชนที่ลักษณะงานต้องใช้คนจำนวนมาก หรือเพื่อส่งเสริมการยอมรับและความสัมพันธ์อันดี

กิจกรรม การทำงานบริการสังคม มีหลากหลายประเภท อาทิ การพัฒนาหรือทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว การปลูก และดูแลสวนป่าหรือสวนสาธารณะการช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวก หรือให้ความบันเทิงแก่คนพิการ เด็กกำพร้า คนชรา ในสถานสงเคราะห์ หรือผู้ป่วยในสถานพยาบาล การสอนกีฬา ฝึกสอนวิชาชีพอื่นๆ เช่น สอนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ และกิจกรมอื่นๆ เช่น การทำงานในห้องสมุด การทาสีเครื่องหมายจราจร การบริจาคโลหิต งานอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัย หรือร่วมรณรงค์ป้องกันอาชญากรม เป็นต้น

การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับคืออะไร คือ ทางเลือกของผู้กระทำผิดที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับ แต่ไม่มีเงินเสียค่าปรับต้องทำงานบริการสังคมทดแทนให้แก่สังคม ชุมชน หรือองค์กรสาธารณกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร

โดยถืออัตราหักค่าปรับวันละ 500 บาท

ผู้ใดที่มีสิทธิ์ขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

ผู้ต้องโทษปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา30/1 ซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลและและไม่มีเงินชำระค่าปรับ

ศาลจะมีคำสั่งทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับอย่างไร มี 2 กรณี คือ

  1. เมื่อศาลสอบถามและแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและผู้ต้องโทษปรับ

ต้องการทำงานบริการสังคมแทนก็สามารถยื่นคำร้องตามแบบ บ.ส.1 โดยศาลจะจัดให้มีการช่วยเหลือหรือ

อำนวยความสะดวกในการจัดทำคำร้องและประวัติตามแบบ บ.ส.2 เพื่อยื่นคำร้อง ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้

ทำงานบริการสังคมได้เลย โดยไม่ต้องถูกนำตัวไปกักขัง

  1. ผู้ต้องโทษปรับที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและมีความประสงค์จะทำงานบริการสังคมแทนในภายหลังสามารถยื่นคำร้อง (ซึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องขอรับแบบฟอร์มได้จากฝ่ายประชาสัมพันธ์ศาล) โดยแจ้งความต้องการขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับลงในแบบคำร้อง (แบบ บ.ส.1) และกรอกประวัติส่วนตัวลงในแบบประวัติจำเลย (บ.ส.2) แล้วยื่นต่อศาล

การอนุญาตหรือไม่อนุญาต ศาลจะพิจารณาจากอะไร

ศาลจะพิจารณาจากฐานะการเงิน ประวัติส่วนตัว ครอบครัว สภาพแวดล้อม ประวัติการกระทำความผิด และสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ รวมถึงประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดจากการทำงานบริการสังคม

ใครเป็นผู้ดูแลการทำงานบริการสังคม

ศาลจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้ดูแลการทำงาน

การกำหนดประเภทของงานและระยะเวลาทำงาน พิจารณาจากอะไร

ศาลจะพิจารณาจากเพศ อายุ ประวัติ การนับถือศาสนา ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ หรือสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระกับผู้ต้องโทษปรับมากเกินไป ซึ่งรายละเอียดได้กำหนดไว้ในระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการกำหนดจำนวนชั่วโมง ที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวันและแนวปฏิบัติในการให้ทำงานบริการสังคมฯ พ.ศ. 2546

บทบาทของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการดำเนินการให้ผู้ต้องโทษปรับ ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ ตามคำสั่งศาลโดยมีพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ดูแล และดำเนินการจัดให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

ที่มา กรมคุมประพฤติ http://www.probation.go.th/contentmenu.php?id=249

Photo by Rodolfo Quiru00f3s on Pexels.com

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s