กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค


วิธีพิจารณาความคดีผู้บริโภค

หลักการในการพิจารณาคดี หลักความสะดวกและประหยัด เป็นหลักการสำคัญเพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยง่าย พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑จึงกำหนดให้ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือที ่กำหนดให้โจทก์และจำเลยสามารถยื ่นฟ้องหรือให้การด้วยวาจาได้เป็นต้น หลักความรวดเร็ว พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาความเสียหายโดยเร็วและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควรโดยกำหนดให้การนัดพิจารณาครั้งแรกจะต้องกระทำโดยเร็วและการสืบพยานจะต้องดำเนินการติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีเว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้หรือการกำหนดให้การพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นอุทธรณ์เป็นศาลชั้นที่สุด เป็นต้น หลักความไม่เป็นทางการ การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีผู้บริโภคมีลักษณะที ่ไม ่เคร่งครัดเหมือนคดีแพ่งทั ่วไปเพื ่อมิให้คู ่ความเอาชนะกันโดยอาศัยเทคนิคทางกฎหมายโดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความแก้ไขข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่ศาลกำหนดได้หรือการกำหนดให้ศาลมีอำนาจมีคำสั่งให้ย่นหรือขยายระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเน้นการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นหลักในการระงับข้อพิพาท เป็นต้น หลักสุจริต การใช้สิทธิภายใต้พระราชบัญญัตินี้ต้องกระทำด้วยความสุจริตไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้บริโภค โดยกำหนดให้การใช้สิทธิหรือการชำระหนี้ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริต หรือกำหนดสภาพบังคับว่าถ้าผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคนำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นได้หรือกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั ่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี ่ยนสินค้าใหม่ให้แก่ผู้บริโภค โดยต้องคำนึงถึงความสุจริตของผู้บริโภคประกอบ เป็นต้น ที่มา https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/10reform/reform11.pdf